คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค รับรองมติ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 คณะอนุกรรมการได้จัดทำข้อเสนอมาตราการจัดการอันตรายจากแร่ใยหิน ซึ่งมีข้อเสนอดังนี้

ข้อเสนอการจัดการอันตรายจากแร่ใยหินชนิดไครโซไทล์

(๑) เสนอนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการยกเลิกการ ผลิต นำเข้า ส่งออก ครอบครอง และจำหน่าย แร่ใยหิน (ไครโซไทล์) และ สินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน ดังนี้
(๑.๑) ห้ามนำเข้าวัตถุดิบแร่ใยหินหรือสินค้าที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบภายในระยะเวลา ๓ เดือน
(๑.๒) ห้ามผลิตวัตถุดิบแร่ใยหินหรือสินค้าที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบภายในระยะเวลา ๑ ปี
(๑.๓) ห้ามจำหน่ายวัตถุดิบแร่ใยหินหรือสินค้าที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบภายในระยะเวลา ๑ ปี             
(๒) เสนอให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับองค์กรผู้บริโภค เผยแพร่ให้ผู้บริโภครับรู้ประกาศและข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน ตลอดจนตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากแร่ใยหิน
(๓) เสนอให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและประกาศรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบให้สังคมรับรู้ และ ดำเนินการห้ามขายผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ โดยมีหลักเกณฑ์พิจารณาห้ามขายสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน ดังนี้
(๓.๑) จำนวนการบริโภค ปริมาณการใช้ ปริมาณการขาย
(๓.๒) ปริมาณของแร่ใยหินที่เป็นส่วนประกอบ (% content)
(๓.๓) ลักษณะของการใช้ที่ทำให้เกิดความเสี่ยง รวมถึงโอกาสของการผุกร่อน
(๓.๔) สารทดแทนแร่ใยหิน 
(๓.๕) อันตรายต่อกระบวนการผลิต ต่อผู้ทำงาน
ตัวอย่าง เช่น (๑ ) กระเบื้องและอุปกรณ์ก่อสร้าง มีจำนวนการบริโภคมากกว่า ๘๐% จึงเข้าข่ายข้อที่ ๓.๑ และเข้าข่ายข้ออื่นๆทั้งหมด (๒) เบรก และ คลัตช์ (จำนวนการบริโภค ประมาณ ๑๐%) และเข้าข่ายข้ออื่นๆทั้งหมดเช่นกัน (๓) ของใช้ เช่น เครื่องเป่าผม อบผม แม้จะบริโภคน้อยกว่า แต่เข้าข่ายข้อ ๓.๓ และมีของทดแทนได้ (ข้อ ๓.๔)

 

 
 
     

email : consumer_sss@yahoo.com
Copyright © 2010 Health Consumer Protection Project
แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
ชั้น 2 ตึกนวัตกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-8445,Fax 02-251-3531