พบผลิตภัณฑ์”ลดความอ้วน”อันตราย

ระวัง!!อย่าหลงเชื่อ”ผลิตภัณฑ์ลดความอ้วน” เตือนผู้ใช้พิจารณาให้ดีก่อนซื้อ

หลังพบผู้เสียหาย จาก ผลิตภัณฑ์ยาลดความอ้วน จึงได้เตือนให้ระวัง ผลิตภัณฑ์บางตัว แม้จะผ่าน อย.แล้ว แต่ก็อาจไม่ปลอดภัย

พบผู้ป่วย อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ ทานผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนไม่มีทะเบียน “Olive club” ซึ่งสั่งซื้อจากครูตชด.บ้านห้วยฆ้อง อ.ชานุมาน แล้วมีอาการปวดหัวรุนแรง หายใจลำบาก ปากแห้งคอแห้ง   มานอนโรงพยาบาล

ทางรพ.ปทุมราชวงศา จึงได้ส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลธานี ตรวจพบ Sibutramine ซึ่งเป็นยาลดความอ้วนและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา คือ นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ตาพร่ามัว ใช้ปริมาณมากอาจเสียชีวิตได้

ส่วนผลิตภัณฑ์สุขภาพอีกตัวที่ส่งตรวจกี่ครั้งก้อเจอ “ลูกสำรองลดน้ำหนัก” ไม่ว่ากี่lot.การผลิต ผลตรวจเจอทุกล้อต เจอ silbutamine และกะลังระบาดหนักในหลายๆ พื้นที่ ต้นตอขายพบมากในหมู่ร้านเสริมสวย สาวประเภทสอง

จึงขอแจ้งเตือนภัน เฝ้าระวัง และให้ความรู้ผู้บริโภค พิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “อย่าคิดว่ามีเลขอย.แล้ว จะไม่อันตราย ” และอย่าหลงเชื่อการอวดอ้างสรรพคุณ ใช้ได้ผลแล้วบอกต่อ นั่นล่ะอันตรายกะลังมาเยือน

ด้วยความปรารถนาดีจาก ทีมงานSRRT คบส.อำเภอปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ

จับตารัฐ แก้วิกฤต แร่ใยหิน

     มาตรการผลักดันให้ “สังคมไทยไร้แร่ใยหิน” ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2555 เห็นชอบแนวทางของ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 เสนอให้ ยกเลิกการนำเข้าแร่ใยหิน

     เนื่องจากมีผลการศึกษาของไทยและต่างประเทศชัดเจนว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค ชุมชน และผู้ใช้แรงงาน

     แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบของวัสดุก่อสร้างหลายอย่าง อาทิ กระเบื้องทนไฟ, กระเบื้องมุงหลังคา, ท่อซีเมนต์, เบรก, คลัตช์, ฉนวนกันความร้อน, กระเบื้องยางปูพื้น, ภาชนะพลาสติก, กระดาษลูกฟูก ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตไทยรายใหญ่ เช่น กลุ่มเอสซีจี ฯลฯ ล้วนมีนวัตกรรมล้ำหน้าที่ใช้สารทดแทนแร่ใยหิน ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้หมดแล้ว เหลือเพียงกลุ่มบริษัทเดียวที่ยังคงผลิตกระเบื้องหลังคาที่ยังมีแร่ใยหิน

     ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5 ของผู้นำเข้าแร่ใยหินของโลก โดยตัวเลขการนำเข้าแร่ใยหินช่วงปี 2553-2554 สูงถึง ปีละ 8 หมื่นตัน และหากย้อนกลับไปก่อนหน้านั้น ปรากฏว่ามีการนำเข้าถึงกว่า 1 แสนตัน

     ปัญหาก็คือ แม้มติ ครม.จะรักษาประโยชน์ผู้บริโภคอย่างไร แต่ยังมีความพยายามขัดขวางด้วยวิธีต่างๆ นานา เพื่อให้ยืดระยะเวลาการแบนออกไปอีกอย่างน้อย 5 ปี กดดันผ่านหน่วยงานรัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมเปิดสงครามข้อมูลข่าวสารเต็มรูปแบบ กลายเป็นเกมผลประโยชน์ทางอุตสาหกรรม ที่ใช้ผู้บริโภคเป็นเดิมพัน

     ปัจจุบันมีเพียง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เท่านั้น ที่ทำหน้าที่ในการดูแลผลประโยชน์ของผู้บริโภค ด้วยการออกประกาศให้สินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็น “สินค้าที่ควบคุมฉลาก” จำนวน 2 ฉบับ โดยเฉพาะประกาศ สคบ.ฉบับที่ 2 เมื่อปี 2553 กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหิน ต้องระบุในฉลากว่า “ระวังอันตรายสินค้านี้มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบการได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกายอาจทำให้เกิดมะเร็งและโรคปอด”

     ประกาศ สคบ.ดังกล่าว ได้ถูกผู้ประกอบการ 3 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท กระเบื้องโอฬาร จำกัด บริษัท โอฬารกระเบื้องซีเมนต์ จำกัด และ บริษัท กฤษณ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตที่ยังคงมีการใช้แร่ใยหิน ยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางในคดีหมายเลขแดง ที่ 1299/2555 เพื่อขอให้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าว

     อย่างไรก็ตาม ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 ก.ค.2555 ให้ “ยกฟ้อง” เนื่องจาก 1. การออกประกาศดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ไม่เป็นการกระทำที่ซ้ำหรือขัดกับ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 เนื่องจากได้มีการหารือประเด็นข้อกฎหมายกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว 2. การออกประกาศมีการรับฟังข้อมูลทางวิชาการ ตลอดจนข้อเท็จจริงจากนักวิชาการ องค์การอนามัยโลก (WHO) และจากรายงานทางการแพทย์ที่พบผู้ป่วยเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งเยื่อหุ้มปอดนั้น เมื่อดูประวัติย้อนหลังพบว่าเคยทำงานในโรงงานผลิตกระเบื้องมาเป็นระยะเวลานาน และมีหลักฐานว่าผู้ป่วยได้รับสารก่อมะเร็ง 3. ข้อความและคำเตือนนั้น เพื่อมุ่งคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้สินค้าหรือมีความเกี่ยวข้องกับตัวสินค้า ไม่ได้มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสินค้า จึงถือว่าทำให้ผู้ประกอบการสูญเสียโอกาสในการแข่งขัน

     การดิ้นรน-ต่อรองจากกลุ่มที่เสียผลประโยชน์ก็คือ กรณีประเทศ รัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกแร่ใยหินรายใหญ่มายังผู้ผลิตกระเบื้องในประเทศไทย ทำหนังสือเตือนถึงรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า หากประเทศไทยยกเลิกใช้แร่ใยหิน จะกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อ “ลาก” มตินี้ออกไปให้ไกลที่สุด

     ที่น่าจับตามองคือในวันที่ 27-29 เม.ย.นี้ ผู้แทนคณะรัฐบาลไทย นำโดย กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี พร้อมผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์ จะเดินทางไปยังประเทศรัสเซีย เพื่อเปิดโต๊ะเจรจาส่งเสริมค้าระหว่างประเทศ ซึ่งหลายฝ่ายกำลังตั้งข้อสังเกตว่า จะมีความพยายามล็อบบี้จากฝ่ายรัสเซียเพื่อยัดไส้วาระ บีบบังคับให้ไทยนำเข้าแร่ใยหินต่อไป

     ล่าสุด สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจาการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย พร้อมเครือข่ายสังคมไทยไร้แร่ใยหิน (T-BAN) ต้องออกโรงรวมพลังชุมนุมคัดค้านหน้ากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อยื่นหนังสือต่อ นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพจากแร่ใยหิน เมื่อวันที่ 17 เม.ย.2556 เนื่องจากมีข่าวแว่วออกมาว่าคณะกรรมการฯ ชุดนี้ เตรียมจะไฟเขียวให้ใช้แร่ใยหินได้ต่อไป โดยอ้างว่าเพราะหลักฐานการเสียชีวิตของคนไทยไม่เพียงพอที่จะสั่งแบน ท่ามกลางข้อกังขาของสังคม???

     ศ.ดร.นพ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล ฝ่ายวิชาการ สมาพันธ์อาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน อธิบายว่า สาเหตุหลักที่มติ ครม.ยังไม่บรรลุ เนื่องด้วยหน่วยงานรัฐเอง ยังขาดการเดินหน้าตามมติครม.ดังกล่าว โดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรม

     “อำนาจการประกาศแร่ใยหินให้เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 4 อยู่ที่กระทรวงอุตสาหกรรม จากนั้นกระทรวงพาณิชย์ต้องประกาศห้ามนำเข้า แต่ขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมกลับซื้อเวลา ด้วยการให้นักวิชาการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชทำการศึกษา” นพ.พรชัย ระบุ

     ผศ.พญ.พิชญา พรรคทองสุข คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ไม่เข้าใจว่าเหตุใดจะต้องปล่อยให้มีคนไทยตายจากแร่ใยหินก่อน จึงจะตัดสินใจยกเลิกนำเข้าและผลิตสินค้าที่มีส่วนประกอบแร่ใยหิน เพราะในทางวิชาการแล้ว ประเทศกำลังพัฒนาจะนำข้อมูลที่ผ่านการศึกษาอย่างเป็นสากลของประเทศพัฒนาแล้วมาอ้างอิง เพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย ตรงกันข้ามหากต้องการศึกษาข้อมูลเอง รัฐบาลต้องมีความชัดเจนและสนับสนุนทั้งเทคโนโลยี งบประมาณ และองค์ความรู้ ซึ่งต้องใช้เวลานานมาก

    อีกทั้ง ภายในปี 2558 จะเปิดประชาคมอาเซียน ประเทศไทยอาจเสียประโยชน์ด้านการค้า เนื่องจากในหลายประเทศเลิกใช้แร่ใยหินแล้ว ประเทศเหล่านั้นจะไม่มีความมั่นใจว่ากระเบื้องจากประเทศไทยปลอดแร่ใยหิน เพราะยังคงมีบริษัทขนาดใหญ่ที่ใช้เร่ใยหินอยู่ แม้จะมีมติ ครม. ให้ยกเลิกแล้วก็ตาม

     สุดท้ายต้องจับตาว่า ผลประโยชน์ด้านสุขภาพของคนไทยจะตกอยู่ในสถานการณ์ใด เมื่อหน่วยงานภาครัฐดูจะมุ่งมั่นปกป้องผลประโยชน์ธุรกิจหมื่นล้าน มากกว่าปกป้องสุขภาพของผู้บริโภคอย่างจริงใจ???

 

 

ผลวิจัยชี้ สัมผัสแร่ใยหินร่วมสูบบุหรี่ เสี่ยงมะเร็งปอด 37 เท่า

     งานวิจัยพบ ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปอด สัมผัสแร่ใยหินร่วมสูบบุหรี่ เพิ่มเสี่ยงเป็น 37 เท่า ด้านไทยหลังไม่ขยับยกเลิกแร่ใยหิน สธ.เตรียมกดดันหาทางสรุป แร่ใยหินไม่มีปัญหาในไทย

     รศ.ดร วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากมติ ครม.ปี 2554 ให้ยกเลิกการใช้แร่ใยหิน แต่ปัจจุบันยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายใดนั้น พบว่าล่าสุดวารสารการแพทย์ประเทศสหรัฐอเมริกา (American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine) รายงานว่า โรคมะเร็งปอด มีความสัมพันธ์กับการสัมผัสแร่ใยหิน โรคแอสเบสโตซิสจากใยหิน และการสูบบุหรี่ ยิ่งมีปัจจัยร่วมกันทั้ง 3 ประการยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอด 37 เท่า โดยการศึกษาดังกล่าวได้ติดตามผู้สัมผัสฉนวนใยหินระยะยาวเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้สัมผัส โดยมีกลุ่มตัวอย่างมากกว่าห้าหมื่นคน ทำให้พบว่า ทั้ง 3 ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งปอด และยิ่งมีมากกว่าหนึ่งปัจจัยก็ยิ่งมีความเสี่ยงร่วม

     รศ.ดร.วิทยา กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา ความรู้ทางวิชาการทราบว่าทั้ง 3 ปัจจัยเป็นส่วนหนึ่งทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด แต่การศึกษาครั้งนี้ทำให้ทั้ง 3 ปัจจัยมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ว่ามีความสัมพันธ์ต่อกัน ยิ่งมีมากกว่าหนึ่งปัจจัยก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น โดยในกลุ่มผู้ไม่สูบบุหรี่ การสัมผัสใยหินมีความเสี่ยงต่อการตายจากมะเร็งปอด 5.2 เท่า หากมีการสูบบุหรี่ร่วมด้วยจะเพิ่มเป็น 28 เท่า โรคแอสเบสโตซิส จะเพิ่มการเสี่ยงต่อการตายจากการเป็นมะเร็งปอดทั้งกลุ่มสัมผัสและไม่สัมผัสแร่ใยหิน โดยอัตราการตายจะเพิ่มเป็น 36.8 เท่า หากมีปัจจัยร่วมทั้ง 3 อย่าง ทั้งนี้ การเลิกบุหรี่อาจลดความเสี่ยงเกิดมะเร็งปอดได้ หากมีการสัมผัสใยหินก่อนหน้านั้นมาเป็นเวลานาน

     “ความรู้ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์มีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆในประเทศต่างๆ ส่วนสถานการณ์ของประเทศไทย หลังจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เสนอเรื่อง สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ไปจนมีมติคณะรัฐมนตรีให้ยกเลิกการใช้ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมต้องทำหน้าที่ทำแผนการยกเลิกการใช้ แต่กลับพบว่า มีการว่าจ้างมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมา ทำหน้าที่ศึกษาและรับฟังความเห็นหลายครั้งและยังไม่มีการเสนอแผนการยกเลิกการใช้แร่ใยหินแต่อย่างใด” รศ.ดร.วิทยา กล่าว

     รศ.ดร.วิทยา กล่าวว่า การเพิกเฉยไม่ดำเนินตามมติ ครม.ส่วนหนึ่งเชื่อว่าน่าจะมีผลจากแรงกดดันทางการค้ากับประเทศรัสเซีย ซึ่งแรงกดดันนี้ส่งผลต่อกระทรวงสาธารณสุข โดยพบแนวโน้มว่าจะมีการกดดันให้คณะกรรมการศึกษาผลกระทบจากใยหิน หาทางสรุปว่าแร่ใยหินไม่มีปัญหา โดยจะมีการประชุมในเรื่องดังกล่าววันที่ 17 เม.ย.นี้ อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยสรุปว่า แร่ใยหินไม่มีอันตรายก็จะถือว่าเป็นแนวทางที่ขัดกับอีก 50 ประเทศทั่วโลก ที่มีการยกเลิกใช้แร่ใยหินในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อป้องกันผลกระทบของประชาชน และถือเป็นการปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกและองค์กรวิจัยนานาชาติด้านมะเร็ง และคณะกรรมการนานาชาติด้านอาชีวอนามัย ซึ่งแนะนำให้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินด้วย

ศาลสั่ง”แป้งเด็กจอห์นสัน”จ่ายค่าก่อมะเร็ง 72 ล้านดอลลาร์

ศาลชั้นต้นแห่งเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ตัดสินให้จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน จ่ายเงินจำนวน 72 ล้านดอลลาร์ให้กับสุภาพสตรีรายหนึ่งที่ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย ซึ่งฟ้องร้องว่าสาเหตุของโรคนั้นมาจากแป้งฝุ่น

ในรายละเอียด คณะลูกขุนแห่งเมืองเซนต์หลุยส์ ตัดสินว่า จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ต้องจ่ายค่าเสียหายจำนวน 10 ล้านดอลลาร์ และอีก 62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นค่าชดเชยแก่ครอบครัวของ แจ็คกี ฟอกซ์ สุภาพสตรีที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งรังไข่เมื่อปีที่แล้ว หลังจากใช้แป้งจอห์นสันแอนด์จอห์นสันและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีส่วนผสมของแร่ทัลก์ติดต่อกันนานหลายปี

เบื้องต้นคณะลูกขุนตัดสินให้ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายรายใหญ่ของโลก จ่ายค่าเสียหายด้วยเหตุผลสำคัญ คือ ทางบริษัทรับทราบมาไม่ต่ำกว่า 30 ปีแล้วว่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ทัลก์ อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งแต่ก็ล้มเหลวที่จะแจ้งและตักเตือนผู้บริโภค

ที่ผ่านมา จอห์นสันแอนด์จอห์นสันถูกฟ้องร้องกว่า 1,200 คดี ที่ทั้งหมดอ้างอิงจากผลการศึกษาและวิจัยต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แป้งเด็กจอห์นสันแอนด์จอห์นสันและผลิตภัณฑ์แบรนด์ชาวเวอร์ทูชาวเวอร์มีส่วนก่อให้เกิดโรคมะเร็งรังไข่

คริสตา สมิธ หัวหน้าคณะลูกขุน ได้ขอเอกสารภายในของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันเพื่อนำมาให้คณะลูกขุนอ่านพิจารณาประกอบการตัดสิน และคำตัดสินก็ออกมาเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาหลังจากพิจารณาหารือกันกว่าสี่ชั่วโมง

“มีความชัดเจนว่าบริษัทได้ปกปิดข้อมูลบางอย่างเอาไว้” สมิธกล่าวในฐานะหัวหน้าคณะลูกขุนแห่งเมืองเซนต์หลุยส์ “สิ่งที่บริษัทควรทำมานานแล้วคือติดฉลากเพื่อตักเตือนผู้บริโภค”

ทั้งนี้ เจอราร์ด โนส ทนายของจอหน์สันแอนด์จอห์นสัน ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ ต่อคำตัดสิน

อัลเลน สมิธ ทนายความของครอบครัวแจ็คกี ฟอกซ์ ให้สัมภาษณ์สั้นๆ ว่า “นี่เป็นเพียงคำตัดสินจากการบริหารงานที่เลวร้ายของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน”

ที่ผ่านมา จอห์นสันแอนด์จอห์นสันเจาะตลาดกลุ่มผู้หญิงด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นซึ่งมีส่วนผสมของแร่ทัลก์ ภายใต้แบรนด์ชาวเวอร์ทูชาวเวอร์ โดยในปี 1988 มีข้อความโฆษณาตอนหนึ่งระบุว่า “ปลุกวันสดใสด้วยการกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ให้หมดไป”

แจ็คกี ฟอกซ์ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งรังไข่ในวัย 62 ปี ได้ให้การในช่วงหกเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิตว่า เธอใช้แป้งเด็กจอห์นสันแอนด์จอห์นสันและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นชาวเวอร์ทูชาวเวอร์ทุกๆ เช้า จนกระทั่งตรวจพบว่าตัวเองเป็นโรคมะเร็ง

หลายปีที่ผ่านมา แร่ทัลก์ถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายหลากหลายชนิด หน้าที่สำคัญคือดูดซับความชื้น

ประมาณการว่ามูลค่าของแป้งเด็กในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 18.8 ล้านดอลลาร์ (ข้อมูลจาก Statistic Brain Research Group) และครัวเรือนสหรัฐราว 19 เปอร์เซ็นต์ใช้ผลิตภัณฑ์จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน

จอห์นสันแอนด์จอห์นสันได้วางขายแป้งเด็กที่ใช้แป้งข้าวโพดแทนแร่ทัลก์ตั้งแต่ช่วงปี 1970 แต่ก็ยังโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ทัลก์ต่อไป และยังคงยืนยันมาตลอดว่าส่วนผสมที่ใช้มีความปลอดภัย

 

แหล่งข้อมูลจาก : 

http://waymagazine.org/๋jjcausecancer/

Saleng for health consumer protection: Innovation from Sakonnakhon

Village Health Volunteer in Thailand, Mr Kongsree Yasurat and Public Health Officer at Health Station Kogsaeng, Wanornniwas, Sakonnakhon innovates “Saleng” for Health Consumer Protection (HCP). This vehicle adds a part to motorcycle with one more wheel. Saleng then can carry equipment for (HCP) education and HCP test kids like steroid detection test and others. VHV Kongsaeng can drive this Saleng to inform people about risk from unsafe product and safeguard community from merchants who come to sale unsafe health products in the village.

Report from Sawangdandin, Sakonnakhon by Health Consumer Protection Center, Faculty of Pharmaceutical Sciences, Chulalongkorn University,
May 3, 2017

MOU สื่อโฆษณาทางวิทยุ จ.ร้อยเอ็ด

MOU สื่อโฆษณาทางวิทยุ จ.ร้อยเอ็ด

14 หน่วยงาน ได้จัดเวทีสัมมนา เพื่อลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไขปัญหาโฆษณาที่ไม่เหมาะสมทางสื่อวิทยุกระจายเสียงวิทยุ

สนธิสัญญาการคุ้มครองการลงทุนแบบทวิภาคี (BIT)-Pablo Solon

สนธิสัญญาการคุ้มครองการลงทุนแบบทวิภาคี (BIT)-Pablo Solon

สนธิสัญญาการคุ้มครองการลงทุนแบบทวิภาคี (BIT)-Pablo Solon บริบทพื้นฐานในเรื่องการคุ้มครองการลงทุนแ­ละการพัฒ โดยเฉพาะเรื่องสนธิสัญญาการคุ้ม­ครองการลงทุนแบบทวิภาคี (BIT) และกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน (ISDS)

โดย ..Pablo Solon,Focus on the Global South

ความปลอดภัยทางอาหาร : การจัดการน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ

เอกสาร สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๔

คคส. แถลงข่าวเรื่อง ยุทธศาสตร์กำจัดน้ำมันทอดซ้ำ

คคส. แถลงข่าวเรื่อง ยุทธศาสตร์กำจัดน้ำมันทอดซ้ำ

ข่าวจากการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 31 มกราคม 55 เรื่อง ยุทธศาสตร์กำจัดน้ำมันทอดซ้ำ ในข่าวช่อง 7

ข่าวจากการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 31 มกราคม 55 เรื่อง ยุทธศาสตร์กำจัดน้ำมันทอดซ้ำ ในข่าวช่อง 9

 

ข่าวจากการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 31 มกราคม 55 เรื่อง ยุทธศาสตร์กำจัดน้ำมันทอดซ้ำ ในข่าวจาก กรมประชาสัมพันธ์

 

ข่าวจากการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 31 มกราคม 55 เรื่อง ยุทธศาสตร์กำจัดน้ำมันทอดซ้ำ จาก รายการสโมสรสุขภาพ ช่อง 9

 

ข่าวจากการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 31 มกราคม 55 เรื่อง ยุทธศาสตร์กำจัดน้ำมันทอดซ้ำ จาก ไทยพีบีเอส

 

หน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU)

ข่าว เกี่ยวกับหน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU)