การสังเกตุเครื่องสำอางค์ปลอดภัย

ไม่เพียงหญิงสาวที่ควรหันมาใส่ใจกับส่วนผสมในเครื่องสำอางให้มากขึ้น แต่ชายหนุ่มและทุกคน น่าจะเริ่มสังเกตฉลากบนผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายที่ใช้อยู่เป็นประจำทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นสบู่ แชมพู หรือโลชั่น ว่าเราพอจะคุ้นหูสารเคมีตัวใดบ้าง เพราะแต่ละวัน ผู้หญิงชาวอเมริกันใช้เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย 12 ชนิดต่อวัน ซึ่งประกอบด้วยสารเคมีตั้งแต่ 126 ชนิดขึ้นไป

เครื่องสำอางของสาวๆ และสารเคมีที่พบได้

รองพื้น: โลหะหนัก อาทิ อาร์เซนิก ไทเทเนียมไดออกไซด์
อายแชโดว์: ฟอร์มัลดีไฮด์ / โลหะหนัก / mineral oils ได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
อายไลเนอร์: โลหะหนัก / คาร์บอนแบล็ค
มาสคารา: ฟอร์มัลดีไฮด์ / คาร์บอนแบล็ค
บลัช: พาราเบนส์ (สารกันเสียยอดนิยม) / ทัลก์ / mineral oils
ลิปสติก: ตะกั่ว / BHA (สารกันเสีย) / mineral oils

 

โดยสารเคมีเหล่านี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ส่งผลให้เกิดสภาวะมีบุตรยาก ไปจนถึงภาวะพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์

แจเน็ต นูเดลแมน ผู้อำนวยการด้านโครงการและนโยบายของกองทุนมะเร็งเต้านม (Breast Cancer Fund) และผู้จัดการโครงการ Campaign for Safe Cosmetics ในซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ให้ข้อมูลว่า มีสารเคมีกว่า 10,000 ชนิดอยู่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย

ภายใต้กฎหมายสหรัฐ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและส่วนผสมต่างๆ ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ (Food and Drug Administration: FDA) ก่อนการจัดจำหน่าย นอกจากนี้ แม้จะพบสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว อาทิ พบสารฟอร์มัลดีไฮด์ (สารตัวเดียวกับฟอร์มาลิน แต่ฟอร์มาลินอยู่ในสถานะของเหลว ส่วนฟอร์มัลดีไฮด์มีสถานะเป็นก๊าซ) ในผลิตภัณฑ์ของบรรษัทใหญ่บางราย แต่กลับไม่มีการเรียกคืนสินค้าแต่อย่างใด

นูเดลแมนเพิ่มเติมว่า สถานการณ์ผู้บริโภคสหรัฐโดยเฉพาะหญิงสาวอยู่ในข่ายน่าเป็นห่วง จากสถิติที่สหภาพยุโรปแบนสารเคมีในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมากกว่า 1,300 ชนิด แต่ในสหรัฐมีการห้ามใช้สารเคมีเหล่านี้เพียง 11 ชนิด

นอกจากคำแนะนำในการสังเกตส่วนผสมบนฉลากก่อนเลือกซื้อ โดยยิ่งมีส่วนผสมน้อยอย่างเท่าไหร่ ยิ่งมีแนวโน้มจะปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น เธอยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีการเติมกลิ่น (fragrance) เพราะคำนี้คำเดียว อาจมีสารเคมีซ่อนตัวอยู่หลายสิบตัว ดังที่มีแคมเปญรณรงค์เพื่อให้บริษัทผู้ผลิตสเปรย์ระงับกลิ่นกายให้ข้อมูลกับผู้บริโภคว่าผสมสารเคมีตัวใดลงไปบ้าง เพราะมีข้อมูลว่า มีผู้แพ้กลิ่นสังเคราะห์เหล่านี้ระหว่าง 2-11 เปอร์เซ็นต์ของประชากร

ข้อมูลอ้างอิงจาก : waymagazine.org

 

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รุกสร้างเครือข่ายในชุมชน

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่ รุกสร้างฐานงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนด้วยความรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมมือกับ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สำนักงานสาธารณสุขสี่จังหวัด ประกอบด้วย สสจ.ลำพูน สสจ.แม่ฮ่องสอน สสจ.ลำปาง สสจ.เชียงใหม่ สร้าง อสม. นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนกว่าพันคน

 

เภสัชกรวรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวว่า การประชุมที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ ถือเป็นการขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคครั้งใหญ่ที่จะทำให้เกิดการปกป้องชุมชนจากสินค้าอันตรายที่เข้ามาในชุมชน

นับได้ว่าเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในขุมชนเพื่อความยั่งยืน เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์คุ้มครองผู้บริโภคที่กำลังดำเนินการใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ โดยจะมีอาสาสมัครนักวิทย์คุ้มครองที่ผ่านการอบรมกว่า 10,000 คน มาจาก รพสต. กว่า 5000 แห่งทั่วประเทศ กระจายในทุกภูมิภาค

อสม.ที่ได้รับการประเมินว่า มีความรู้ดีมีความตั้งใจ มีผลงานจะได้รับปลอกแขนเชิดชูเกียรติ เพื่อเป็น อสม.นักวิทย์คุ้มครองผู้บริโภค

ซึ่งบทเรียนจากการดำเนินงานกับ อสม. ในสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ หรือ สอน ประสบความสำเร็จอย่างดีจึงนำมาขยายต่อและเชื่อว่า จะทำให้ชุมชนตื่นตัวลุกมาป้องกันภัยจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

นายสังคม วิทยนันทนันท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 กล่าวว่า การจัดอบรมครั้งนี้ จะต่อเนื่องในเดือน พฤษภาคม และ มิถุนายน 2560 โดยจะมีการจัดอบรมรวม 11 รุ่น 11 วัน

วันที่ 17-18-19 พ.ค. ที่ ลำพูน
วันที่ 24-25-26 พ.ค. ที่ แม่ฮ่องสอน
วันที่ 31-1-2 มิ.ย. ที่ ลำปาง และ
วันที่ 8-9 มิ.ย. เชียงใหม่

ซึ่งเชื่อว่า การอบรมครั้งนี้ จะทำให้เกิดพลังชุมชนปกป้องประชาชนจากความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ไม่เหมาะสมต่อไป

ทั้งนี้จะให้ อสม. และ นักวิทย์ชุมชน ได้ใช้ชุดทดสอบสารเสตียรอยด์ เครื่องสำอาง ใช้หน้าต่างเตือนภัย รู้เรื่องการจำแนกผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ การตั้งศูนย์เตือนภัยใน รพสต. โดยจะมีการทดสอบความรู้ก่อน และหลังการอบรม เพื่อจะต่อยอดเป็นแกนนำในระดับตำบลทำงานกับ อสม. ทั้งหมดของชุมชนต่อไป

ไมโครบีดส์ กับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ในยุคไทยแลนด์ 4.0

ไมโครบีดส์ กับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ในยุคไทยแลนด์ 4.0

ไทยแลนด์ 4.0 มีแนวคิด บูรณาการผลผลิตที่นำสู่รายได้ที่สูงขึ้น (Productive growth) การสร้างความเท่าเทียมทางสังคม (Inclusive growth or No one left behind) และ การบริบาลพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (Green growth) เรื่องการบริบาลสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

จึงถือเป็นเป้าหมายสำคัญ “ไมโครบีดส์”ได้ถูกนำมาใช้ในสินค้าเพิ่มมูลค่าเชิงนวตกรรม

แต่วันนี้ โลกและสังคมเริ่มตั้งคำถาม และเรียกร้องทบทวนสถานภาพการดำรงอยู่ในสินค้าของผู้บริโภค

ไมโครบีดส์ เป็น เม็ดพลาสติกขนาดเล็ก หรือ ไมโครพลาสติกส์ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไมโครบีดส์ถูกนำมาใช้ผสมในเครื่องสำอางค์ เช่น ยาสีฟัน สครัปหน้า ยากันแดด โฟมอาบน้ำ และ ผงซักฟอก เป็นต้น และไมโครบีดส์ไม่สามารถย่อยสลายได้

มีรายงานจำนวนมากชี้ว่า ตัวไมโครบีดส์เองไม่อันตรายต่อคน แต่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่กินเข้าไป เมื่อไมโครบีดส์ปนลงไปในสิ่งแวดล้อม เช่น แหล่งน้ำ สาธารณะ หลังการใช้ของผู้คน เมื่อสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่กินเข้าไปก็จะเป็นผลให้ตายได้ เพราะไม่สามารถย่อยสลาย

นอกจากนี้การที่ไมโครบีดส์ดูดซับสารพิษที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ตัว เมื่อสัตว์น้ำกินเข้าไปก็จะอยู่ในสัตว์ และเมื่อสัตว์มาเป็นอาหารของคน ก็จะทำให้เป็นพิษต่อคนได้ต่อไปในวงจรห่วงโซ่อาหาร

 

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

http://waymagazine.org/microbeads-pollution/

http://waymagazine.org/banmicrobeadsincanada/

“สกลนคร”สร้างนวตกรรม”ซาเล้ง”แจ้งเตือนภัย

“สกลนคร”รุกหนุนชุมชนเข้มแข็ง เป็นจังหวัดจัดการสินค้าไม่ปลอดภัยสร้างนวตกรรม”ซาเล้ง”แจ้งเตือนภัย

การจัดประชุม อาสาสมัครสาธารณสุขนักวิทยาศาสตร์การแพทย์คุ้มครองผู้บริโภค (อสม) และ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล (รพสต) จากทุกตำบลๆละ 2คน รวม 250 คน เพื่อการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพในชุมชน ที่โรงพยาบาลสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จัดโดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร โรงพยาบาลสว่างแดนดิน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุดรธานี และศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี

นายแพทย์ปรเมศวร์ กิ่งโก้ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด กล่าวเปิดงาน รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร บรรยายวิชาการ บทบาทของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในการสนับสนุนงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุทชน  รศ.ดร. ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ บรรยายเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคโดยการสร้างกลไกแจ้งเตือนภัย และ การนำเสนอผลการดำเนินงานของ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ (สอน) และ รพสต ในการพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคชุมชน

โดยมีนวัตกรรมที่เด่น เช่น หมู่บ้านปลอดภัยจากสินค้าอันตราย “รถซาเล้ง” เพื่อการแจ้งเตือนภัย ศูนย์แจ้งเตือนภัยประจำชุมชน อสม. นักวิทย์ชุมชน ทั้งนี้มีผลงานโดดเด่นมากสามารถเป็นแบบอย่าง โดยเฉพาะการป้องกันรถเร่ขายสินค้าไม่ปลอดภัยไม่ให้เอายาหรือเครื่องสำอางค์ที่ผสมสารเตียรอยด์ การใช้รถมอร์เตอไซค์ออกประชาสัมพันธ์สินค้าอันตรายในชุมชน เป็นต้น

ทีมงานของ สสจ. และ รพ.สว่างแดนดิน ตลอดจน รพ.ต่างๆ รพสต. และ อสม. มีความเข้มแข็งมาก น่าจะเป็นแบบอย่างในการปฎิบัติงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค มีข้อเสนอให้จัดตั้ง วิทยาลัยป้องกันชุมชน (วปช) ทำหน้าที่เสริมสร้างกำลังคนและสร้างบทเรียนการเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติงานจากการทำงานจริงในพื้นที่ เนื่องจากชุมชนมีศักยภาพสูง

ทั้งนี้ในพื้นที่มีการนำจับเครื่องสำอางค์ผสมเสตียรอยด์ โดยนายอำเภอพังโคน เป็นต้น

ลิงค์จับเครื่องสำอางค์ปลอม

http://news.ch7.com/detail/222763/จับแหล่งผลิตเครื่องสำอางปลอม_จ.สกลนคร.html.%20ข่าวช่อง%204

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผนึกกำลัง คคส. สร้างเครือข่ายเตือนภัย”ยาผีบอก”

      กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วม ๑๓ จังหวัดภาคเหนือ พัฒนากลไกแจ้งเตือนภัยในชุมชน โดย อสม. นักวิทย์และคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ รพ.สต และ สสจ.

      ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก ร่วมกับ สาธารณสุขจังหวัด ๑๓ จังหวัด และ แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส) ประชุมหารือแนวทางการพัฒนา อสม. นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน เพื่อเป็นกลไกในชุมชนเพื่อการป้องกันและแจ้งเตือนภัย โดยมี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร เป็นประธานการประชุม เริ่องการนำเสนอปัญหาของพื้นที่ เช่น จังหวัดน่าน กรณีการแถลงข่าว ของ รพ. นาน้อย จังหวัดเชียงราย

กรณีการแถลงข่าว ของ สสจ.เชียงราย ทางกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สสจ.เพชรบูรณ์ แจ้งเรื่อง ยาผงจินดามณี ที่มาจากจังหวัดพิษณุโล และ ยาน้ำหมอเสาร์ ที่มีเสตียรอยด์ ซึ่งมาจาก จังหวัดร้อยเอ็ด  และที่จังหวัดเลย มีการกระจายยาผงจินดามณีที่นำมาจากลาว โดยเจ้าหน้าที่และกระจายผ่าน อสม.

     ทั้งนี้ปัญหาอันตรายจากยาในชุมชนที่มีเสตียรอยด์ มีทั่วไปในภูมิภาคต่าง ๆ

ลิงค์ข่าวเกี่ยวข้อง

http://www.matichon.co.th/news/50867

http://www.thairath.co.th/content/847340

https://www.isranews.org/isranews/54300-medicine-54300.html

 http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9600000020039

https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_230389

ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค”เชียงราย”จัดประชุมถอดบทเรียนท้องถิ่นป้องภัยใยหิน

ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค”เชียงราย”จัดประชุมถอดบทเรียนท้องถิ่นป้องภัยใยหิน ร่วมกับเครือข่าย 4 จังหวัดองค์กรท้องถิ่นพร้อมเพรียงร่วมใจออกข้อบัญญัติป้องภัยใยหิน พร้อมเดินหน้าต่อโดยมีข้อเสนอ 5 ข้อ

รายงานข่าวจากศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค จังหวัดเชียงราย เปิดเปิดว่า เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค 5 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย พิจิตร พะเยา ลำปาง และ กำแพงเพชร นำโดย ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค เชียงราย ได้ทำงานขับเคลื่อนชุมชนและท้องถิ่นให้มีความตื่นตัวเรื่องอันตรายจากแร่ใยหิน ที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดและมะเร็งเยื่อหุ้มปอด

โดยอาศัยประสบการณ์จากจังหวัดเชียงรายที่ทำงานร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่นและชุมชนในเชียงราย จนเกิดข้อบัญญัติของเทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล ในการป้องกันอันตรายจากแร้ใยหินระหว่างการรื้อถอนและการก่อสร้าง

โดยได้ชี้ให้ชุมชนและท้องถิ่นเห็นอันตราย และตระหนักว่า วัสดุที่มีแร่ใยหินสร้างความเสี่ยงกับสล่า(ช่างรื้อถอน) และ ประชาชนที่จะมีโอกาสรับฝุ่ใยหินสู่ปอด และ ส่งผลให้เกิดมะเร็ง

การทำงานในจังหวัดเชียงราย ในระยะแรก มี เทศบาล และ อบต. ได้เข้าร่วมออกข้อบัญญัติทั้งสิ้น 18 แห่ง ๆ ละ 1 อำเภอ รวม 18 อำเภอ โดยเริ่มจาก เทศบาลตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย  จากบทเรียนการทำงานในระยะแรก จึงได้กำหนดเป้าหมายขยายพื้นที่ในเชียงรายอีก 15 แห่ง ในอำเภอเมือง ให้ครอบคลุมทุกอำเภอ และได้ชวนเครือข่ายอีก 4 จังหวัด พัฒนาโครงการขับเคลื่อนชุมชนและท้องถิ่นในแต่ละจังหวัด

โดยมีบทเรียนในแต่ละพื้นที่ที่สำคัญ คือ การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ชุมชนตื่นตัว ตระหนักถึงภัยจากแร่ใยหิน ร่วมกันขับเคลื่อนท้องถิ่นให้เห็นความสำคัญในการออกมาตรการ   เช่น การมีข้อบัญญัติเพื่อการปฏิบัติตนของผู้ก่อสร้างในการขออนุญาตรื้อถอน การมีป้ายแสดง วิธีรื้อถอนและการป้องกันตนระหว่างรื้อถอน การจัดการขยะใยหิน ตลอดจนการพิจารณาไม่ใช้วัสดุก่อสร้างที่มีใยหินที่จะสร้างภาระในการจัดการขยะใยหินในอนาคต

ผลการดำเนินเครือข่ายแต่ละจังหวัด ทำให้ชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น มีความตื่นตัวในจังหวัดเชียงราย จะมีการออกข้อบัญญัติ ทั้งสิ้น 15 แห่ง เพิ่มจากเติมที่มีอยู่แล้ว 18 แห่ง รวมเป็น 33 แห่ง และสามารถเป็นพื้นที่ต้นแบบหลาย แห่ง เช่น เทศบาลตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย หลายแห่งสามารถเป็นพื้นที่ต้นแบบ

ในจังหวัด ลำปาง และพะเยา จังหวัดละ 5 แห่ง ที่มีเป้าหมายการออกข้อบัญญัติ ท้องถิ่น และ ที่พิจิตร 2 แห่ง กำแพงเพชร 1 แห่ง

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้นำเสนอผลงานของศูนย์แต่ละจังหวัดที่ไปริเริ่มก่อรูปงานในพื้นที่ และผลงานความสำเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลักษณะต่างๆ และได้หารืองานที่จะดำเนินการในแต่ละจังหวัดและดำเนินการร่วมกัน

ซึ่งที่ประชุม ได้มีข้อเสนอเพื่อการดำเนินการต่อไป 5 ข้อ ได้แก่

(1) การรวมกันเป็น”เครือข่ายภาคเหนือไม่เอาใยหิน” หรือ สมัชชาแร่ใยหินภาคเหนือ โดย เครือข่าย ประกอบด้วย อปท เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค หลักประกันสุขภาพ สื่อ สมัชชา นักวิชาการ “สนับสนุนการยกเลิก ส่งเสริมการเลือกใข้สินค้าไม่มีใยหิน แลกเปลี่ยนบทเรียนการดำเนินงาน และ มีการชมเชยร้านค้าไม่ขายสินค้าใยหิน”

(2) สนับสนุน การขยายการปฏิบัติการ ขยายพื้นทึ่ใหม่ในจังหวัด  ประสานกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ให้มีนโยบายสนับสนุนทั้ง การประชาสัมพันธ์ การประกาศข้อบัญญัติ ปฏิบัติการในพื้นที่และปกป้องกลุ่มเสี่ยง เช่น สล่า มีการมอบประกาศเกียรติคุณ มีการนำเข้าบรรจุในธรรมนูญสุขภาพตำบล เรียนรู้ปฏิบัติการรื้อถอน การจัดการขยะ และทำงานร่วมกับ รพสต สปสช อสม

(3) สนับสนุนการ เป็น”แหล่งเรียนรู้” หาว่ามีพื้นที่ใดพร้อมบ้าง เช่น จ. เชียงราย แม่ยาว นางแล รอบเวียง ท่าสาย ฯ จ. พะเยา บ้านสาง ฯ จ. ลำปาง แม่สัน ฯ จ. พิจิตร บางลาย ท่าล่อฯ จ. กำแพงเพชร. อบต โป่งน้ำร้อนฯ

(4) หนุนเสริมกลไกสนับสนุนให้ศูนย์จังหวัดที่มีวิทยากร และสื่อ ประสานแพทย์ นักวิชาการ “การอบรมแกนนำ” วงวิชาการระดับภาค ในภาคเหนือ

(5) ” แสดงผลงาน” ให้สังคมเห็น เช่น เวทีสมัชชา เวทีท้องถิ่น เวทีคุ้มครองผู้บริโภค เวที สปสชกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เกิดการขยายพื้นทึ่ปฏิบัติการ

คำเตือนส่งท้าย หน้านี้ฝนตกกระเบื้องแตกจากพายุ ไม่ควรซื้อกระเบื้องที่มีใยหินไปทดแทน

 

 

“แคนาดา”สนับสนุนการยกเลิก”ไครโซไทล์”ในระดับสากล

แคนาดาสนับสนุนการยกเลิกไครโซไทล์ในระดับสากล

ดยจะสนับสนุนการยกเลิกในการประชุมรอทเทอแดม ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ นับจากที่เคยผลิตและส่งออก และต่อมาประกาศยกเลิกส่งออก

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

http://www.newswire.ca/news-releases/the-government-of-canada-supports-the-listing-of-chrysotile-asbestos-to-the-rotterdam-convention-620082693.html

ลาวเชิญ คคส.เสนอบทเรียนไทย ให้สังคมรู้อันตรายใยหิน

ลาวเชิญ คคส. เสนอบทเรียนไทย เร่งให้สังคมรู้อันตรายใยหิน

ทำฐานข้อมูลระดับชาติ พัฒนาโรงงานทำกระเบื้องไร้ใยหิน

เมื่อวันที่ 28-29 มีนาคม 2560 ที่ห้องประชุมสหพันธ์กรรมาบาลแห่งชาติลาว กรุงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว

สหพันธ์กรรมาบาลประเทศลาว และ องค์กรสุขภาพ APHEDA ออสเตรเลีย จัดประชุมอบรมเครือข่าย ประกอบด้วย แพทย์ สื่อมวลชน กระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง และสมาชิกกรรมาบาล เพื่อสร้างความตื่นตัวในอันตรายจากใยหินไครโซไทล์ เรียนรู้ประสบการณ์การยกเลิกใยหินของออสเตรเลียและมองโกเลีย การดำเนินงานในประเทศไทยและเวียดนาม การพัฒนาแนวทางในการนำเทคโนโลยีผลิตกระเบื้องไร้ใยหินของเวียดนามมาประยุกต์ใช้ รับทราบแนวทางขององค์การอนามัยโลกในการกำจัดโรคจากแร่ใยหิน

การจัดทำรายงานและฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับแร่ใยหินในลาว เช่น การนำเข้า การผลิต จำนวนโรงงาน จำนวนผู้ป่วยมะเร็ง และโรคที่เกี่ยวกับแร่ใยหิน การเฝ้าระวัง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. ตลอดจน นายแพทย์จากศูนย์มะเร็งแห่งชาติของลาว ที่ได้มาทำความเข้าใจกับผู้เข้าประชุม

มีการประชุมกลุ่มเพื่อหาแนวทางจัดตั้งเครือข่ายปกป้องอันตรายจากใยหิน และการดำเนินการเพื่อให้เกิดความตื่นตัวในลาวและนำสู่การยกเลิกต่อไป

เภสัชบุรีรัมย์ เตือน กินยาชุด “หมอทหาร” ยาผง”จินดามณี” อาจตายได้

เภสัชบุรีรัมย์ เตือน  ยาชุด “หมอทหาร”  ยาผง”จินดามณี” ผสมเสตียรอยด์ กินถึงตายได้ ล่าสุดจับคนเร่ขายมีโทษจำคุก

ขณะนี้มีรายงานจำนวนมากจากเภสัชกรในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีการระบาดของการขายยาชุดที่ใข้ชื่อ “หมอทหาร” และ ยาผง”จินดามณี” ซึ่งมีเสตียรอยด์ เป็นองค์ประกอบจำนวนมากหลายพื้นที่  ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษ ที่ต้องใช้โดยแพทย์ เนื่องจากอาจมีอันตรายถ้าใช้อย่างไม่เหมะสม มีการจับกุมล่าสุดที่จังหวัดบุรีรัมย์โดยตํารวจร่วมกับเภสัชกรสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

เภสัชกรหญิง กนกพร ชนะค้า หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ รายงานว่า ได้รับการประสานจากกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ร่วมกันจับกุม  ผู้เร่ขายยาชุด ในพื้นที่อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ชื่อ นายไวพจน์  ศิริวันนา

จากการสอบสวน พบขายยาชุด “หมอทหาร” จำนวน 259 ชุด และ “ยาผงจินดามณี”  จำนวน  215 ซอง ซึ่งยาทั้งสองชนิดคาดว่ามียาเสตียรอยด์เป็นส่วนผสม  การเร่ขายยาเป็นการกระทำความผิดฝ่าฝืนพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 12 ขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต  โทษจำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท  และยังฝ่าฝืนมาตรา  75 ทวิ ขายยาชุด โทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้จะได้หาทางสืบจับต้นตอแหล่งขายยาเพื่อไม่ให้กระจายขายยาต่อไป

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แจ้งไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและ แจ้งให้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ทั่วประเทศรับทราบเพื่อดำเนินการตามกฎหมายหากมีการละเมิด และ แจ้ง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) เพื่อแจ้งประชาชนในพื้นที่ให้เฝ้าระวังและป้องกันอันตรายจากการขายยาดังกล่าว

หากประชาชนในพื้นที่พบการเร่ขายยาชุดหมอทหารและยาผงจินดามณีสามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ 044-617464 กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ หรือสายด่วน อย 1669  หรือ ประสานงาน ติดต่อ เภสัชกรหญิง กนกพร ชนะค้า

หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์  044-617464

ลิงค์ข่าวที่เกี่ยวข้อง

https://m.manager.co.th/OnlineSection/detail/9600000020039

https://news.thaipbs.or.th/content/260435

“ศาลเบลเยี่ยม”ตัดสินให้ผู้ป่วยจากแร่ใยหิน ได้รับเงินชดเชย 250,000 ปอนด์

“ศาลเบลเยี่ยม”ตัดสินให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากแร่ใยหิน ในเบลเยี่ยม ได้รับชดเชย 250,000 ปอนด์

ทั้งนี้เพราะบริษัทใยหินอีเทอร์นิต ไร้ความรับผิดชอบ รู้ว่าอันตราย แต่ไม่ดูแลคนทำงาน ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต

ศาลจึงมีคำสั่งให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้รับเงินชดเชยดังกล่าว

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

http://ibasecretariat.org/lka-asbestos-victory-in-belgium.php