“ลำพูน” อบรม อสม. นักวิทย์ชุมชนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ครบทุก รพ.สต.เตรียมต่อยอดทั้งจังหวัด 580 หมู่บ้าน

ในวันที่ 17 พ.ค.60 ที่สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ลำพูน ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ได้มีการจัดอบรมการขับเคลื่อนเครือข่าย อสม.นักวิทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค รุ่นที่ 1 ของ จ.ลำพูน จำนวน 160 คน จัดโดย กลุ่มงาน คบส.สสจ.ลำพูน , คคส.จุฬาฯ และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่ เป็นการอบรมเพื่อสร้างบุคลากรที่จะดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน อย่างยั่งยืน สามารถปกป้องประชาชนให้เกิดความปลอดภัยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ โดยการให้ความรู้ และการใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย รวมถึงการใช้แอพลิเคชั่น หน้าต่างเตือนภัย หรือ Single window ในการสืบค้นข้อมูลและเฝ้าระวังได้ ตลอดจนการให้มีศูนย์เตือนภัยใน รพสต

ทั้งนี้จังหวัดลำพูนจะดำเนินการสร้าง อสม.นักวิทย์ชุมชน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในจังหวัด โดยการจัดอบรม 3 รุ่น ในวันที่ 17-19 พ.ค.60 กลุ่มเป้าหมายคือ อสม.และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ทุกแห่ง 71 แห่ง รวม 168 หมู่บ้าน 446 คน และจะดำเนินการให้ครบทุกหมู่บ้านในจังหวัด 580 หมู่บ้าน ในปีต่อๆไป

กรมปกครองส่วนท้องถิ่น เปิดพื้นที่ให้ คคส. สนับสนุนงานคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนงานที่ท้องถิ่นดูแล

อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พร้อมผู้อำนวยการสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม ซึ่งดูแลท้องถิ่นทั้งหมดในด้านสุขภาพ. ผู้อำนวยการการศึกษา ซึ่งดูแล รร. ในสังกัดท้องถิ่น ๑๕๐๐ แห่ง และผู้อำนวยการสถาบันการปกครองท้องถิ่น นัด คคส หารือ แนวทางสนับสนุนงานคุ้มครองผู้บริโภค ที่ รร อมารีแอร์พอร์ต ดอนเมือง ระหว่าง ๑๖.๓๐-๑๘.๐๐ น.
ในวันจันทร์ที่ ๑๕ พฤษภาคม นี้ แนวทางเบื้องต้น เช่น
๑.นำเสนอเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคในการประชุมประจำเดือนของท้องถิ่นจังหวัด ที่มีท่านอธิบดีฯเป็นประธาน
๒.สถาบันการปกครองท้องถิ่น มีการอบรมผู้นำท้องถิ่น จะมีการเชิญ ภก.จิระ วิภาสวงศ์ เป็นวิทยากร เล่าบทเรียนเรื่องการป้องภัยแร่ใยหิน เช่นการป้องกันในการรื้อถอน
๓.การศึกษา รร.เทศบาลสังกัดท้องถิ่น จะนำร่อง เรื่องน้ำดื่มปลอดภัย โดยตู้น้ำในโรงเรียนไม่มีตะกั่ว จุลินทรีย์ไม่เกินมาตรฐาน มีการต่อสายดิน เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ รร.ในสังกัดอื่นๆต่อไป
๔.สาธารณสุข เช่น ตลาดปลอดน้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ  ทั้งนี้เมื่อทั้งกรมส่งเสริมฯ และ คคส ได้เตรียมการพร้อมแล้ว จะนัดหารือแนวทางปฏิบัตืต่อไป ทั้งนี้ ภก วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร รองอธิบดี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมหารือด้วย

“คคส.”ร่วมกับ”วคบท.” ประชุมนำเสนอผลงานวิชาการด้านการคุ้มครอง

คคส. ร่วมกับ วิทยาลัยการคุ้มผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ สภา เภสัชกรรม (วคบท) ประชุม นำเสนอผลงานวิชาการด้านการคุ้มครอง

คคส. ร่วมกับ วิทยาลัยการคุ้มผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ สภา เภสัชกรรม (วคบท) จัดประชุม นำเสนอผลงานวิชาการด้านการคุ้มครอง ในวันที่ ๑๕ ถึง ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ที่ โรงแรมอมารี ดอนเมือง

ซึ่งการประชุมครั้งนี้ มีนักเรียน วคบท. เข้าร่วมประชุมกว่า 30  คน มีการนำเสนอผลการศึกษา ด้านต่างๆ ประกอบด้วยนโยบาย กฎหมาย ระบาดวิทยา การจัดการความเสี่ยง และชุมชน รอบคลุมมิติต่าง ๆ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

ทั้งนี้ ผลการศึกษาหลายเรื่องจะมีการนำไปใช้แก้ปัญหาทั้งในระดับพื้นที่และนโยบายระดับประเทศ

เชียงรายผนึกกำลังรัฐและองค์กรผู้บริโภค จัดการสินค้าไม่ปลอดภัยและเตือนภัยชุมชน


เชียงรายผนึกกำลังรัฐและองค์กรผู้บริโภคจัดการสินค้าไม่ปลอดภัยและแจ้งเตือนภัยชุมชน

สสจ. เชียงราย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จ.เชียงราย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จ.เชียงราย ร่วม ศูนย์คุ้
มครองผู้บริโภค สมาคมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา จ.เชียงราย และเครือข่าย จัดประชุมหารือ การเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีอันตรายและแจ้งเตือนภัย

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดแนวทางร่วมกันในการจัดการสินค้าไม่ปลอดภัยและแจ้งเตือนภัยชุมชนระหว่างหน่วยงานรัฐด้านบังคับใช้กฎหมาย คือ สสจ ด้านวิชาการ คือ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และองค์กรผู้บริโภค สมาคมประชาสังคมเพื่อการพัฒนาเขียงราย

โดยได้ส่งแกนนำ  จำนวน 9 คนจาก 9 เครือข่าย ร่วมอบรม โครงการขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัด ที่จัดโดย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่โรงแรมแกรนรูม จัวหวัดเชียงราย ในวันที่ 15 พ.ค.60 นี้

รพ.ดอกคำใต้ ขยายผล สร้างนักวิทย์คุ้มครองในพื้นที่

รพ.ดอกคำใต้ ขยายผล สร้างนักวิทย์คุ้มครองต่อในพื้นที่ มุ่งเป็นต้นแบบอำเภอจัดการสุขภาพ

เมื่อ วันที่ 5 พ.ค. รพ.ดอกคำใต้ได้จัดการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพ อสม.เชี่ยวชาญด้านคุ้มครองผู้บริโภค ในเขต รพ.สต.ขุนลาน และ รพ.สต.หนองหล่ม โดยมีอสม.เข้าร่วมหมู่บ้านละ 2 คน รวมทั้งหมด 30 คน

โดยเนื้อหาการอบรม เน้นการสำรวจครัวเรือนเพื่อสำรวจการใช้ยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวดที่อาจจะปนเปื้อนสเตียรอยด์ ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังและสูงอายุ และค้นหาผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้สเตียรอยด์ และการใช้ชุดทดสอยสเตียรอยด์ เพื่อให้อสม.สามารถทดสอบเองได้ และแนะนำประชาชนเบื้องต้น อีกทั้งการสร้างกลไกการแจ้งข่าวเพื่อสื่อสารข้อมูลด้านคุ้มครองผู้บริโภคและเตือนภัยสินค้าไม่ปลอดภัย

ภญ.รุจิราได้ นำความรู้จากการอบรมมาขยายเครือข่ายต่อและกล่าวขอบคุณกับทีมงานผู้จัดงานว่า “ขอขอบคุณทีมงานผู้จัดที่ให้ความรู้ดีๆ และช่วยสอน อสม.นักวิทย์ฯ ได้ความรู้ดีๆแบบนี้ต้องบอกต่อเพื่อสร้างเครือข่ายในอำเภอค่ะ”

การอบรมในพื้นที่นี้เป็นการขยายผลภายหลังการอบรม การขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 ณ ห้องพุดตานโรงแรมพะเยาเกตเวย์จังหวัดพะเยา โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา และ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ ทางเครือข่ายจังหวัดพะเยา คาดหวังว่าศูนย์วิทย์ฯเชียงรายจะร่วมขับเคลื่อน อสม.นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ต่อไปจนได้ปลอกแขน อสม.นักวิทย์และเป็นเครือข่ายต้นแบบระดับอำเภอจัดการสุขภาพในที่สุด

เภสัช รพ.ดอกคำใต้ เตือนห้ามใช้ “ยาจินดามณีผีบอก”

เภสัช รพ.ดอกคำใต้ เตือนห้ามใช้ “ยาจินดามณีผีบอก” พบมึเสตียรอยด์ และไพรอกซิแคม ทำคนไข้แพ้ยารุนแรง

ในการอบรม การขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 ณ ห้องพุดตานโรงแรมพะเยาเกตเวย์จังหวัดพะเยา โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา และ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภญ.รุจิรา ปัญญา ร.พ.ดอกคำใต้ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา เล่าว่าได้พบคนไข้แพ้ยารุนแรง จากการกิน”ยาผงจินดามณีผีบอก” เมื่อส่งยาตรวจพบยาเด็กซ่าเมธาโซน และ ยาไพรอกซิแคม ซึ่งโดยทั่วไปมักพบว่ามีเพียงเด็กซ่าเมธาโซนที่อันตรายมากอยู่แล้ว ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ตรวจพบ ยาไพรอกซิแคมร่วมด้วย  คนไข้กินยาครั้งเดียวก็ทำให้เกิดยาแพ้ยารุนแรง

ภญ.รุจิรา ปัญญา เปิดเผยรายละเอียดว่า เมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมามีผู้ป่วยมารักษาที่โรงพยาบาล ด้วยอาการหอบ หายใจเหนื่อย ความดันสูง มีผื่นขึ้นตามตัว แบบ fixed drug eruption ซึ่งเป็นผื่นที่มีลักษณะคล้ายรอยจ้ำ แต่จะออกจุดเดิมที่เคยแพ้ยา

เมื่อตรวจสอบประวัติผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยเคยแพ้ยาแก้ปวดไพรอกซิแคมอยู่เดิม จึงสงสัยว่ายาจินดามณี (ยาผีบอก) ต้องมียาตัวอื่นผสมนอกจากยาสเตียรอยด์ จึงส่งรายงานทางหน้าต่างเตือนภัย (single window) และส่งตัวยาไปตรวจสอบที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงราย เพื่อตรวจหายาที่ปลอมปนอยู่

ผลยืนยันจากศูนย์วิทยาศาสตร์ พบว่ามีเด็กซ่าเมทาโซนและไพรอกซิแคม และผู้ป่วยมีอาการสอดคล้องกับการแพ้ยาซ้ำ ซึ่งอันตรายและเกิดขึ้นเร็วกว่าการแพ้ยาในครั้งแรก

เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ได้รับอันตรายในฐานะเภสัชกรจึงขอเตือนฝากประชาชนว่าอย่าซื้อยาที่ไม่มีทะเบียนหรือทะเบียนไม่ถูกต้องมาใช้ โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัวหรือมีประวัติแพ้ยาอยู่แล้ว  ทั้งนี้ อยได้แจ้งเตือนมาก่อนหน้านี้ว่า ยงผงจินดามณีใช้เลขทะเบียนในสาระบบของผลิตภัณฑ์อื่นถือเป็นการปลอมแปลง

จึงขอเตือนให้หลีกเลี่ยงการใช้เพื่อจะได้ไม่ได้รับอันตรายจากการใช้ยา

ศูนย์วิทย์เชียงราย ยุคไทยแลนด์4.0 ใช้”สมาร์ทโฟน”ประเมินความรู้ อสม.

เครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคเหนือ ขยาย อสม. นักวิทย์คุ้มครอง รวมสิบจังหวัด ครั้งแรกใช้”สมาร์ทโฟน”ประเมินความรู้ อสม. ก่อนหลังแบบออนไลน์ รู้ผลทันที

 

ศูนย์วิทย์เชียงราย เปิดตัวขับเคลื่อนเครือข่ายที่พะเยา หลังเปิดตัววันแรกที่เชียงราย ขยายจำนวน รงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ. (รพสต) และ อสม. นักวิทยาศาสตร์คุ้มครองผู้บริโภคครอบคลุมในสิบจังหวัดภาคเหนือ กว่าสองพันคนหลังได้สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ (สอน) เป็นต้นแบบ

นายวิชัย ปราสาททอง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย  กล่าวว่า ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้ร่วมกันจัดการอบรม”โครงการขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัดพะเยา”ในวันที่ 5 พ.ค.2560 ณโรงแรมพะเยาเกทเวย์

การอบรมในครั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่ รพ.สต. รพช. สสอ. สสจ. และอสม.ตำบลละ 2 คน (จนท.สธ.9อำเภอ 90คน,จนท.สสจ. 3 คน, อสม.183คน, ศูนย์ฯเชียงราย 13 คน) รวมทั้งสิ้น 289 คน โดยมี นายสุรศักดิ์ ชัยชนะ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นประธานเปิดงาน และได้รับเกียรติจาก รศ.ภก.ดร.วิทยา  กุลสมบูรณ์  ได้ให้ความรู้การคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และมีการบรรยายอันตรายของผลิตภัณฑ์สุขภาพ การจัดการสุขภาพด้วยหน้าต่างแจ้งเตือนภัย และการใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย 4 ชุด ภาคฝึกปฏิบัติแยกกลุ่ม อสม.ฝึกปฏิบัติการใช้ชุดทดสอบ

โดยมี อสม.นักวิทย์ฯจาก สอน.แม่ปืม และอนาลโยเป็นครูพี่เลี้ยง กลุ่มจนท.สธ.ใช้ฐานข้อมูลจากหน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ และการจัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัยฯในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้พัฒนาการประเมินผลความรู้ก่อน-หลังการอบรมผ่านแบบประเมิน online กับ อสม. นับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่นำมาใช้ เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการทดสอบ

โดยพบว่าก่อนการอบรมมีค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐานคะแนนความรู้ที่ร้อยละ 66.67 (ตอบแบบประเมิน271คน) หลังการอบรมพบว่ามีค่าเฉลี่ยแลัค่ามัธยฐานคะแนนเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 86.67(ตอบแบบประเมิน247คน)

การอบรมได้รับความสนใจและทั้ง อสม และ จนท มีความตืนตัวมีการยกปัญหาในพื้นที่มาอภิปรายหาทางแก้ เช่น ยาผงจินดามณีผีบอกผสมเสตียรอย์ โดยที่ รพช ดอกคำใต้ มีการใส่ยาไพรอกซิแคมเข้าไปด้วยทำให้ผู้ป่วยแพ้ยารุนแรง ดังนั้นเครือข่ายฯ

จึงต้องรวมตัวและร่วมมือกันป้องภัยชุมชนกันอย่างแข็งขัน การอบรมนี้ทำให้ได้รูปแบบที่จะดำเนินการต่อไปในจังหวัดต่างๆในภาคเหนือรวมสิบจังหวัด

ตั้งราคาสูงหลอกผู้บริโภค

ตั้งราคาสูงหลอกผู้บริโภค เพื่อให้หลงเชื่อว่าลดราคา

 

สามคำถามแนะนำก่อนซื้อของลดราคาที่อ้างว่าลดแหลก ถามพนักงานขายว่า

  • ร้านนี้เคยขายราคานี้จริงไหม
  • ถ้าขาย เคยขายมานานเท่าไรแล้ว
  • ลองหาราคาที่อื่นเปรียบเทียบ

ในสหรัฐอเมริกา ได้มีการเปิดเผยว่า หลายห้างใหญ่ได้ตั้งราคาที่ไม่เคยได้ขายจริง เป็นกลยุทธการตลาด ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับราคาที่เป็นจริง เรียกว่า ราคาหลอก หรือ ราคาปลอม Fake original price เป็นการเพิ่มราคาไปจากราคาจริง ราคาที่แสดงไว้ก็ไม่เคยขายในราคานี้

Consumer report. เคยรายงานว่า มีการฟ้องคดีแบบกลุ่ม ในปี 2553 ในสหรัฐอเริกาที่มีการขายกระเป๋าและเสื้อผ้า ด้วยราคาหลอกสูงกว่าจริง 32-50%

“At issue is a 2010 class-action lawsuit by a consumer who said he would not have purchased luggage and clothing at Kohl’s that were advertised as having been marked down from 32 to 50 percent had he known that those items routinely were being sold at discounted prices.”

 

ดูเพิ่มเติม ใน NBC

http://www.nbcnews.com/business/consumer/jcpenney-sears-macy-s-kohl-s-sued-fake-sale-pricing-n694101

ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

“10 พฤษภาคม”วันความปลอดภัยจากการทำงาน

วันที่ 10 พฤษภาคม ของทุกปี จะเป็น”วันความปลอดภัยจากการทำงาน”  สำหรับปีนี้ (2560) เครือข่ายผู้ป่วยจากการทำงาน กับสมานฉันท์แรงงานไทย และ คคส. จัดงาน”วันความปลอดภัยจากการทำงาน”

ในวันงาน เปิดงานด้วยการรำลึก 24 ปีโศกนาฎกรรมเคเดอร์ ที่เกิดเมื่อ 24 ปีที่แล้ว และ นำเสนอปัญหา อันตรายจากแร่ใยหิน ทำไมต้องงดใช้และนำเข้า

ซึ่งในวันดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก ทันตแพทย์ศิริเกียรตื เหลียงกอบกิจ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพมาเป็นประธานเปิดงาน ที่โรงแรม ทีเคปาร์ก นนทบุรี โดยมีวิทยากรจากคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ กรมควบคุมโรค และ ผู้แทนผู้ใช้แรงงานนำเสนอข้อมูลทางวิชาการและให้ความรู้เพื่อขับเคลื่อนการป้องกันอันตรายจากแร่ใยหินต่อไป

“สธ.พะเยา” เตือน!! หมอเถื่อนรักษาริดสีดวงทำผู้ป่วยติดเชื้อ

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพะเยา เตือนภัยหมอเถื่อนหลอกฉีดยารักษาริดสีดวงทำผู้ป่วยติดเชื้อ

นายแพทย์ขจร วินัยพานิช นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา ได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียงม่วน และโรงพยาบาลเชียงม่วน ว่า เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๐ ในพื้นที่หมู่ ๑ บ้านหลวง ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา มีบุคคลแอบอ้างเป็นผู้ประกอบวิชาชีพจากคลินิกแห่งหนึ่งมาให้การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงทวารด้วยวิธีการฉีดยาเข้าบริเวณที่เป็นริดสีดวง ที่บ้านของผู้ป่วยแต่ละราย

พร้อมทั้งมีการจ่ายยาอันตรายให้กับผู้ป่วยหลังการรักษา คิดค่ารักษาอยู่ระหว่าง ๑๕,๐๐๐ – ๓๕,๐๐๐ บาท โดยบอกว่าขึ้นอยู่กับอาการที่เป็น ขณะนี้มีผู้เข้ารับการรักษาอยู่ ๗-๘ ราย และพบว่า มีผู้ป่วย ๑ ราย เกิดอาการติดเชื้อที่แผลริดสีดวง จนต้องส่งตัวไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลพะเยา เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๐ ซึ่งผู้ป่วยให้ข้อมูลเพิ่มว่า ได้รับโทรศัพท์ข่มขู่ว่าอาจเกิดอันตรายต่อชีวิต หากนำเรื่องมาแจ้งความร้องทุกข์กับตำรวจ

ขณะนี้ทางสาธารณสุขจังหวัดอยู่ระหว่างการติดตามตัวเพื่อแจ้งดำเนินการตามกฎหมาย เนื่องจากทำการรักษาและจ่ายยาอันตรายในสถานที่ที่ไม่ได้รับอนุญาต ตลอดจนแอบอ้างเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ และได้ทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตราย

นอกจากนี้ ภญ.พิมพ์ชนก หยีวิยม หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค ได้กล่าวถึงอันตรายจากสินค้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่มีผู้ขายมาหลอกลวงในชุมชนในรูปแบบต่างๆ การป้องกันสามารถดำเนินการได้ โดยผู้บริโภคและชุมชนต้องร่วมมือกันป้องกันปัญหา

พร้อมทั้งยกตัวอย่าง หมอเถื่อนหลอกฉีดยารักษาริดสีดวง ทำผู้ป่วยติดเชื้อในจังหวัด ทั้งอันตราย โรคไม่หายและเสียเงิน ในการประชุม เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 ในการอบรม การขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัดพะเยา ที่ ห้องพุดตานโรงแรมพะเยาเกตเวย์จังหวัดพะเยา

โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา และ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง 

http://www.pyomoph.go.th