คคส. เปิดอบรมเชิงปฏิบัติการ การเขียนข่าว บทความและการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ เพื่อติดอาวุธด้านความรู้ให้กับเครือข่ายรู้หลักการเขียนข่าวในรูปแบบต่างๆ โดยมีมือาชีพวงการข่าวมาเป็นวิทยากรให้ความรู้
คณะทำงาน แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จัดโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการ “การเขียนข่าว บทความ และการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์” ขึ้น เพื่อเสริมศักยภาพด้านการนำเสนอข่าวสารให้กับเครือข่าย คคส. ให้เกิดประสิทธิภาพในสื่อสารไปยังผู้รับข่าวสาร สร้างการตระหนักรู้ให้กับประชาชน ผู้บริโภครู้เท่าทันสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัยต่อระบบสุขภาพ รวมถึงนำเสนอการทำงานของเครือข่ายต่างๆ ที่มีบทบาทในการคุ้มครองผู้บริโภคจากสินค้าไม่ปลอดภัย เป็นการสานพลังเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค
ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามพันธกิจของ คคส. คือ จุดประกาย กระตุ้น สาน และเสริมพลัง ผู้บริโภค และองค์กรผู้บริโภคทุกภาคส่วน ให้มีขีดความสามารถ และพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภค ที่เอื้อต่อสุขภาวะ

ซึ่งการอบรมครั้งนี้มีวิทยากรที่อยู่ในวงการข่าวอย่าง คุณนิธินันท์ ยอแสงรัตน์ นักข่าวและบรรณาธิการสื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษกว่า 30 ปี อาทิ บก.เครือเนชั่น, คอลัมนิสต์มติชนออนไลน์, ประชาไท, Media Inside Out ฯลฯ เป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านวิธีการเขียนข่าวในรูปแบบต่าง ๆ และ มีทีมWeb Programmer บริษัท สื่อดลใจ จำกัด เป็นวิทยากรให้ความรู้ ถึงวิธีการนำข้อมูล รูปภาพ และข่าวที่เขียนเรียบร้อยแล้วลงในเวปไซต์
การอบรมครั้งนี้จัดขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน 2560 ที่ โรงแรมอมารี ตอนเมือง

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง ภายใต้การสนับสนุนของ คคส. จุฬาฯ ร่วมจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัด” ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2560 ณ ห้องเรืองราษฎร์ โรงแรมทินิดี อำเภอเมือง จังหวัดระนอง เพื่อให้เกิดเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภคครอบคลุมทุกตำบลในทุกอำเภอของจังหวัดระนอง โดยเน้นสร้างทีมบุคลากรที่สำคัญ คือ ทีม อสม.นักวิทย์ฯ และเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงในศูนย์เฝ้าระวังฯ ที่จัดตั้งขึ้น ณ รพ.สต. จำนวน 46 แห่งผ่านแกนนำ อสม.นักวิทย์ฯ ประจำตำบลจำนวน 92 คน โดยมีสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทั้ง 5 อำเภอ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นจุดเชื่อมประสานของเครือข่าย

เจ้าหน้าที่ทีมพี่เลี้ยงทั้ง รพ.สต. และ สสอ. ให้ความสนใจ โดยการสมัครเข้าใช้งานหน้าต่างเตือนภัยเป็นศูนย์เฝ้าระวังฯ ครบทุกแห่ง 100 % นับเป็นนิมิตรหมายอันดีในการขับเคลื่อนงาน อีกทั้ง แกนนำ อสม.นักวิทย์ฯ หน้าใหม่ไฟแรงยังตั้งใจฝึกการใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นเพื่อตรวจหาสารอันตรายในยาสมุนไพรและเครื่องสำอางที่ได้เก็บตัวอย่างมาล่วงหน้าจากชุมชนของตนเอง เมื่อเห็นผลว่าชุมชนมีเครื่องสำอางหรือยาที่ปนเปื้อนสารอันตราย ก็เกิดความตระหนักของการจัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัย อสม.และพี่เลี้ยงจึงได้ประเมินศักยภาพของชุมชนตนเอง เพื่อวางแผนต่อยอดพัฒนาสู่การเป็นต้นแบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ยกตัวอย่าง เช่น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองระนอง จะดำเนินงานเสริมความเข้มแข็งให้ทีม อสม.นักวิทย์ และศูนย์แจ้งเตือนภัยประจำตำบล คาดหวังทุก รพ.สต. ในเขตเทศบาล จำนวน 7 ตำบล 10 รพ.สต. พัฒนาตนเองจนได้ป้ายศูนย์เฝ้าระวัง รับเรื่องร้องเรียนและแจ้งเตือนภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อให้เป็นต้นแบบของอำเภออีกด้วย

ทั้งนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี จะเร่งจัดอบรมให้ครบทั้ง 4 จังหวัด ภายในเดือนพฤษภาคม 2560 เพื่อขยายทีม อสม.นักวิทย์ฯ ชุมชน และศูนย์เฝ้าระวังให้ครอบคลุมทุกพื้นที่โดยจะจัดอบรมครั้งต่อไปในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 22-23 พฤษภาคม 2560
รายงานโดย เภสัชกรพงษ์ธร ทองบุญ เภสัชชำนาญการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี

หนึ่ง ใช้ข้อมูลวิจัยการจัดลำดับสินค้าไม่ปลอดภัย สอง เก็บสถิติเปรียบเทียบสามปียาที่มีเสตียรอยด์ในชุมชน สาม ใช้ไลน์กลุ่มสื่อสาร อสม นักวิทย์เฝ้าระวังชุมชน สี่ ส่งยาตรวจยืนยันที่ศูนย์วิทย์และนำลงหน้าต่างเตือนภัย ห้า นำผู้ป่วยจากยามาเป็นกรณีศึกษาชี้อันตรายให้ชุมชนตระหนัก
ในการอบรมเพื่อขับเคลื่อนเครือข่าย อสม นักวิทย์ชุมชนคุ้มครองผู้บริโภค จังหวัดลำพูน รุ่นที่ ๑ เขตอำเภอเมืองลำพูน อำเภอแม่ทา อำเภอบ้านธิ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ทึ่ ศูนย์ประชุมโชควัฒนา สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ลำพูน
ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

นายสันติพงษ์ กันทะวารี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ป่าซาง ได้พูดถึงเรื่องดีๆในการขับเคลื่อน อสม นักวิทย์ชุมชนคุ้มครองผู้บริโภคที่ควรนำมาสื่อสารต่อ
(1) คุณสันติพงษ์ กันทะวารี นักวิชาการส่ธารณสุขชำนาญการ ได้กล่าวนำการบรรยายโดยอ้างอิงผลจากงานวิจัย ของ คคส ที่การจัดลำดับสินค้าไม่ปลอดภัยภาคเหนือ พบว่า เครื่องสำอางผสมสารต้องห้าม และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปนเปื้อนเสตียรอยด์เป็นปัญหาที่จัดในลำดับสำคัญ
(2) คุณสันติพงษ์ได้เก็บสถิติจากการเก็บตัวอย่างสินค้ามาตรวจพบเสตียรอยด์ ในระยะสองปีแรก ต่อมาในปีสุดท้ายไม่พบ ภาพรวมสามปีรวมปีที่ไม่มีเสตียรอยด์ด้วย อยู่ที่ร้อยละสามสิบ ทำให้เห็นได้ว่าการดำเนินการมีผลดีปัญหาลดลง
(3) มีนวตกรรมการใช้ไลน์ มาสื่อสารข้อมูล การสร้างเครือข่ายการสื่อสารภัยยาอันตรายในชุมชน โดยมีไลน์กลุ่ม อสม นักวิทย์คุ้มครอง ของ สอน ที่พร้อมป้องกันชุมชนจากรถเร่ขายยาอันตรายและการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพและยาในรูปแบบต่างๆ
(4) มีการพบยาสมุนไพรชนิดต่างๆที่ตรวจแล้วพบสารเสตียรอยด์ และยืนยันโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต ๑ เชียงใหม่โดยได้แสดงภาพระบุชื่อและนำลงในหน้สต่างเตือนภัย ทำให้ อสม ในชุมชนได้รับทราบโดยดูจากสมาร์ทโฟนและเครือข่ายหน้าต่างเตือนภัยทั่วประเทศก็ได้รู้ด้วย
(5) มีการนำผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจากสารเสตียรอยด์ในชุมชน โดยเฉพาะอาการที่เกิดจากยา เช่น ขาบวม หน้าบวม หลังเป็นโหนก มีโรคไต และอื่นๆ มาเป็นกรณีตัวอย่างพิษภัยของยาเสตียรอยด์ ทำให้ชาวบ้านเห็นรูปธรรมจากของจริงและตื่นตัวจากอันตรายและมาร่วมกันแก้ปัญหาในชุมชน

จากการฟังบรรยายน่าจะทำให้มั่นใจได้ว่าการขับเคลื่อนเครือข่าย อสม นักวิทย์ชุมชนคุ้มครองผู้บริโภค จังหวัดลำพูน จะมีความเข้มแข็งและป้องกันภัยสินค้าอันตรายได้อย่างยั่งยืน
รายงานโดย ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ ๑ มิถุนายนนี้ ที่โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ท กรมอนามัย ร่วมกับ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จัดประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวางแผนพัฒนาระบบเฝ้าระวัง และควบคุมการตลาดนมผงสำหรับทารกและเด็กเล็ก โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า ๒๐๐ คน จากแต่ละจังหวัด อย่างน้อยจังหวัดละ ๓ คน ประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค และหัวหน้าฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก จากโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ผลสรุปการประชุมจะได้แนวทางร่วมกันในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและกำกับดูแลการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กต่อไป

โครงการขับเคลื่อนเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค อบรมสามวัน และวันสุดท้ายในวันที่ 19 พค จังหวัดลำพูน โดย สสจ ลำพูน ศูนย์วิทย์ฯ เชียงใหม่ และ คคส จัดอบรม รุ่นที่ 3 โดย ผู้เข้าอบรมเป็น อสม. 96 คน จาก 2 อำเภอ ได้แก่ อ ลี้ อ ทุ่งหัวช้าง ที่ห่างจากตัวจังหวัดกว่า 100 กิโลเมตร โดย มีภก.จิระ วิภาสวงศ์ เภสัชกรเชี่ยวชาญ สสจ.ลำพูน เป็นประธานเปิดการประชุมอบรม ทั้งนี้ อสม.รุ่นนี้ ให้ความสนใจ เช่นเดียวกับ สองรุ่นในสองวันที่ผ่านมา
ความพยายามในการสร้างเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพโดยคนในชุมชนเองนี้ จะนำไปสู่การคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคอย่างยั่งยืนต่อไป
จังหวัดแพร่ ขับเคลื่อนงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนทั้งจังหวัด เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ครอบคลุม 8 อำเภอ จำนวน 338 คน สร้างความเข้มแข็งในการจัดการปัญหาเครื่องสำอางปลอมเลขจดแจ้ง และยาน้ำแผนโบราณปนปลอมสารเสตียรอยด์

วันที่ 19 พ.ค. 2560
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ จัดการอบรมโครงการขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัดแพร่ ณโรงแรมแพร่นครา จังหวัดแพร่ โดยมีเจ้าหน้าที่ รพ.สต. รพช. สสอ. สสจ. และอสม.ตำบลละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 338 คน โดยมีนายแพทย์ทศเทพ บุญทอง นายแพทย์สสจ.แพร่ เป็นประธานเปิดงาน
มีการบรรยายอันตรายของผลิตภัณฑ์สุขภาพ การจัดการสุขภาพด้วยหน้าต่างแจ้งเตือนภัย และการใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย 4 ชุด ได้แก่สารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง และสารเสตียรอยด์)
ภาคฝึกปฏิบัติแยกกลุ่มอสม.ฝึกปฏิบัติการใช้ชุดทดสอบ(มี อสม.นักวิทย์ชุมชน สอน.แม่จั๊วะ เป็นครูพี่เลี้ยง) กลุ่มจนท.สธ.ใช้ฐานข้อมูลจากหน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ และการจัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัยฯในพื้นที่
รวมทั้งมีการลงทะเบียนใช้หน้าต่างแจ้งเตือนภัยถึง 113หน่วยงาน(ร้อยละ94.9)
การประเมินผลความรู้ก่อน-หลังการอบรมผ่านแบบประเมินonline พบว่าก่อนการอบรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ที่ร้อยละ 73.33(ตอบแบบประเมิน302คน) หลังการอบรมพบว่ามีค่าเฉลี่ยคะแนนเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 86.67(ตอบแบบประเมิน315คน)
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ ได้สื่อสารและแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาเครื่องสำอางปลอมเลขจดแจ้งและผสมสารห้ามใช้ รวมทั้งการจัดการปัญหายาน้ำแผนโบราณปนปลอมสารเสตียรอยด์เช่นตราเทพธิดา, ตราพิกุลทอง โดยเครือข่ายสสจ. สสอ. รพช. รวมกับชุมชน และตรวจด้วยชุดทดสอบให้ชาวบ้านได้เห็นและแก้ไขปัญหาร่วมกัน
เภสัชกร ดร นิลสุวรรณ ลีลารัศมีนายกสภาเภสัชกรรม กล่าวเปิดในการประชุมสรุปงานถอดบทเรียนเภสัชกรปฐมภูมิและก้าวต่อไปวันที่ 19 – 20 พฤษภาคม 2560 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ตกรุงเทพ โดยกล่าวว่า “ในฐานะนายกสภาเภสัชกรรม ถือว่าเป็นผู้นำในการนำเภสัชกรในบทบาทด้านบริการปฐมภูมิ ซึ่งมีความสำคัญเชิงนโยบายของประเทศ การประชุมถอดบทเรียนวันนี้จะเป็นฐานความรู้ นำการทำงานที่มีผลมาสื่อสารสาธารณะ ผู้ที่ไม่สามารถมาประชุมจะได้ใช้แนวทางในการดำเนินงาน ในการดำเนินงานต้องคำนึงถึงวิชาชีพอื่นๆที่ทำงานเป็นทีมด้วยกันเพื่อความสำเร็จร่วมกัน
เชียงราย ขยายเครือข่าย วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค อีก 371 คน ในสองวัน – สร้างภูมิรับมือเสตียรอยด์เข้าชายแดน จุดผ่อนปรน อ เทิง เวียงแก่น เชียงของ

เชียงราย อบรมสองวัน 15-16 พค โดยมีนายแพทย์ สุรินทร์ สุมนาพันธ์ และนายแพทย์สสจ.เชียงราย เป็นประธาน วันแรก และมีนายวิชัย ปราสาททอง เป็นประธานวันที่สอง ผลทดสอบหลังอบรมโดยการประเมินออนไลน์เพิ่มร้อยละ 80-86 พื้นที่ชายแดนมีการลักลอบยาเสตียรอยด์ผ่านจุดผ่อนปรน หารือแนวทางรับมือ รายละเอียดแต่ละวันมีดังนี้

วันที่ 15 พ.ค. 2560 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย จัดการอบรมโครงการขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัดเชียงรายโซน 1 ในวันที่ 15 พ.ค.2560 ณโรงแรมเชียงรายแกรนรูม โดยมีเจ้าหน้าที่ รพ.สต. รพช. สสอ. สสจ. และอสม.ตำบลละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 186 คน

ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากนายแพทย์ สุรินทร์ สุมนาพันธ์ และ นายแพทย์ สสจ.เชียงราย เป็นประธานเปิดงาน และมีการบรรยายอัตรายของผลิตภัณฑ์สุขภาพ การจัดการสุขภาพด้วยหน้าต่างแจ้งเตือนภัย และการใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย 4 ชุด

มีการฝึกภาคปฏิบัติ แยกกลุ่มอสม.ฝึกปฏิบัติการใช้ชุดทดสอบ (มี อสม.นักวิทย์ฯจาก รพ.สต.นางแล เป็นครูพี่เลี้ยง) กลุ่มจนท.สธ.ใช้ฐานข้อมูลจากหน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ และการจัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัยฯในพื้นที่


ซึ่งในครั้งนี้ ได้มีการประเมินผลความรู้ก่อน – หลังการอบรม ผ่านแบบประเมิน online ซึ่งพบว่า ก่อนการอบรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ที่ร้อยละ 66.67 (ตอบแบบประเมิน158คน) ส่วนหลังการอบรมพบว่า มีค่าเฉลี่ยคะแนนเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 80.00(ตอบแบบประเมิน152คน)
วันที่ 17 พ.ค. 2560

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย จัดการอบรมโครงการขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัดเชียงรายโซน 2 ในวันที่ 17 พ.ค.2560 ณโรงแรมibis style chiangkhong river front โดยมีเจ้าหน้าที่ รพ.สต. รพช. สสอ. สสจ. และอสม.ตำบลละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 185 คน


สำหรับการอบรมในวันนี้ ได้รับเกียรติจาก ผอ.วิชัย ปราสาททอง เป็นประธานเปิดงาน และมีการบรรยายถึงเรื่องอันตรายของผลิตภัณฑ์สุขภาพ การจัดการสุขภาพด้วยหน้าต่างแจ้งเตือนภัย และการใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย 4 ชุด

ส่วนในภาคปฏิบัติ ได้มีการแยกกลุ่มอสม.ฝึกปฏิบัติการเพื่อใช้ชุดทดสอบ(มีอสม.แม่บ้านครัวสะอาดจาก รพ.สต.สถาน เป็นครูพี่เลี้ยง) กลุ่มจนท.สธ.ใช้ฐานข้อมูลจากหน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ และการจัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัยฯในพื้นที่

ซึ่งในครั้งนี้ ได้มีการประเมินผลความรู้ก่อน – หลังการอบรมผ่านแบบประเมินonline พบว่า ก่อนการอบรม มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ที่ร้อยละ 73.33 (ตอบแบบประเมิน143คน) หลังการอบรมพบว่า มีค่าเฉลี่ยคะแนนเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 86.67 (ตอบแบบประเมิน173คน)

พร้อมกันนั้นยังได้มีการเเลกเปลี่ยนประเด็นในพื้นที่ที่มีปัญหา ด่านชายแดนที่มีจุดผ่อนปรนใน อ.เทิง เวียงแก่น เชียงของ และมีการลักลอบขนยาเสตียรอยด์เข้ามาขายในพื้นที่