
วันที่ 19 พ.ค. 2560
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ จัดการอบรมโครงการขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัดแพร่ ณโรงแรมแพร่นครา จังหวัดแพร่ โดยมีเจ้าหน้าที่ รพ.สต. รพช. สสอ. สสจ. และอสม.ตำบลละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 338 คน ใน 8 อำเภอโดยมีนายแพทย์ทศเทพ บุญทอง นายแพทย์สสจ.แพร่ เป็นประธานเปิดงาน



มีการบรรยายอันตรายของผลิตภัณฑ์สุขภาพ การจัดการสุขภาพด้วยหน้าต่างแจ้งเตือนภัย และการใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย 4 ชุด ได้แก่สารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง และสารเสตียรอยด์)
ภาคฝึกปฏิบัติแยกกลุ่มอสม.ฝึกปฏิบัติการใช้ชุดทดสอบ(มี อสม.นักวิทย์ชุมชน สอน.แม่จั๊วะ เป็นครูพี่เลี้ยง) กลุ่มจนท.สธ.ใช้ฐานข้อมูลจากหน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ และการจัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัยฯในพื้นที่
รวมทั้งมีการลงทะเบียนใช้หน้าต่างแจ้งเตือนภัยถึง 113หน่วยงาน(ร้อยละ94.9)
การประเมินผลความรู้ก่อน-หลังการอบรมผ่านแบบประเมินonline พบว่าก่อนการอบรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ที่ร้อยละ 73.33(ตอบแบบประเมิน302คน) หลังการอบรมพบว่ามีค่าเฉลี่ยคะแนนเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 86.67(ตอบแบบประเมิน315คน)
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ ได้สื่อสารและแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาเครื่องสำอางปลอมเลขจดแจ้งและผสมสารห้ามใช้ รวมทั้งการจัดการปัญหายาน้ำแผนโบราณปนปลอมสารเสตียรอยด์เช่นตราเทพธิดา, ตราพิกุลทอง โดยเครือข่ายสสจ. สสอ. รพช. รวมกับชุมชน และตรวจด้วยชุดทดสอบให้ชาวบ้านได้เห็นและแก้ไขปัญหาร่วมกัน

วันที่ 25 พ.ค. 2560
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน จัดการอบรมโครงการขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัดน่าน ณโรงแรมเทวราช จ.น่าน โดยมีเจ้าหน้าที่ รพ.สต. รพช. สสอ. สสจ. และอสม.ตำบลละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 424 คน โดยมีนายแพทย์นิพนธ์ พัฒนกิจเรือง นายแพทย์สสจ.น่าน เป็นประธานเปิดงาน และผอ.วิชัย ปราสาททอง ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่1/1เชียงราย กล่าวรายงานโครงการ และมอบชุดทดสอบให้แก่นายแพทย์สสจ.น่าน
มีการบรรยายอันตรายของผลิตภัณฑ์สุขภาพ การจัดการสุขภาพด้วยหน้าต่างแจ้งเตือนภัย และการใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย 4 ชุด ได้แก่สารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง และสารเสตียรอยด์)
ภาคฝึกปฏิบัติแยกกลุ่มอสม.ฝึกปฏิบัติการใช้ชุดทดสอบ(มี อสม.นักวิทย์ชุมชน สอน.สถาน อ.นาน้อย เป็นครูพี่เลี้ยง) กลุ่มจนท.สธ.ใช้ฐานข้อมูลจากหน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ และการจัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัยฯในพื้นที่
รวมทั้งมีการลงทะเบียนใช้หน้าต่างแจ้งเตือนภัยถึง 130 หน่วยงาน
การประเมินผลความรู้ก่อน-หลังการอบรมผ่านแบบประเมินonlineพบว่าก่อนการอบรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ที่ร้อยละ 73.33 (ตอบแบบประเมิน333คน) หลังการอบรมพบว่ามีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.33 (ตอบแบบประเมิน 326คน)
นอกจากนี้ยังมีการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้จากอสม.ดีเด่นด้านคบส.ระดับภาค อสม.จุฑาทิพย์ วิไชยยา ต.เมืองจัง อ.ภูเพียง มาเล่าประสบการณ์ในการดำเนินงานคบส.โดยมีจุดเด่นในการขับเคลื่อนงานร่วมกับภาคีเครือข่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในทีมคบส.ร่วมตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยด้วย และ อสม.นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน อสม.สุธารส ทาเสน จาก สอน.สถาน อ.นาน้อย มาเเลกเปลี่ยนการทำงานคบส.ในการเฝ้าระวังสินค้าในชุมชน รวมถึงการค้นหาผู้ป่วยที่ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ปลอมปนสารเสตียรอยด์ในพื้นที่ รวมทั้งการขยาย อสม.นักวิทย์ ไปยัง อย.น้อย.นักวิทย์ด้วย

นพ วันชัย เหล่าเสถียรกิจ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ บรรยายในการ อบรมโครงการขับเคลื่อนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญงานคุ้มครองผู้บริโภคสู่นักวิทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค วันที่ 24 พฤษภาคม 2560 ณ ห้องศรีลำดวนหนึ่ง โรงแรมศรีลำดวน จังหวัดศรีสะเกษ จัดโดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี และศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนี้
” การที่จะให้ประชาชนทุกคนรู้ปัญหาจากสินค้าต่างๆ ไม่สามารถทำได้ จึงต้องการตัวแทนมาช่วย ทั้งอาหารที่ขายในโรงเรียน รถพุ่มพวง ตลาดนัด
รถเร่ หลายรายแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ โทรไปตามเบอร์ก็ไม่มีจริง
อสม จึงเป็นตัวแทนสำคัญที่สื่อสารกับชุมชน หมู่บ้าน ในเรื่องภัยสุขภาพ
เรื่องการบริโภค ให้ชุมชนตระหนัก
เอาปัญหาไปพูดคุยกับชุมชน ต้อง
สื่อสารหาคนมาร่วมงาน ทำคนเดียวจะเหนื่อย อาหารที่มาขายใน รร
อย น้อย เจอ บอกครูให้แก้ปัญหา
อสม รู้ปัญหาจากชุดทดสอบ
ถ้าฉลากปลอม ไม่มีแหล่งผลิต
เราไปบอกคนขายเองอาจไม่ดี
บอก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต
เราจะได้ไม่ต้องเผชิญหน้าเอง

หากมึรถขายของไม่ดี ช่วยกันส่งข่าวบอกกัน การจะทำให้คนในชุมชนสุขภาพดี ต้องบอกท้องถิ่น ท้องถิ่นจะได้รู้และเข้าไปดูแล
อสม รู้เรื่องในชุมชนเป็นอย่างดี
ทราบจำนวนเด็ก จำนวน ผู้ป่วยติดเตียง เรามีหน้าที่สื่อสารเรื่องชุมชน
เป็นตัวแทนที่แท้จริงของชุมชน
การคุ้มครองผู้บริโภค ทำให้เราเท่าทันเพื่อความปลอดภัย เป็นหูเป็นตาเพื่อเพื่อนบ้าน เป็นสื่อ เฝ้าระวังสิ่งไม่ดีไม่มีคุณภาพ บอกเตือนภัยสุขภาพ
ทั้งอาหารปลอม ยาปลอม
เทคโนโลยีก็สำคัญ เอาโทรศัพท์มาช่วยถ่ายรูปรถเร่ขายของไม่ดี มาสื่อสารไลน์ถึงกัน
เดี๋ยวนี้หลอกกันมาก อ้างว่ายานี้อาหารเสริมนี้ทรักษาคนหายคนเดียว ก็เอามาโฆษณา กินยานี้ ราคาขวดละ ๑๒๐๐ บาทแล้วหาย เป็นไปได้อย่างไร อสม ต้องมาช่วยกันเตือนพี่น้องในขุมขน
อสม จึงมีบทบาทเมื่อมีภัย สงสัยว่าไม่ปลอดภัย มีบทบาทเฝ้าระวัง สื่อสาร
ประสานเชื่อมโยงเครือข่าย แก้ปัญหาร่วมกันดำเนินการให้สำเร็จ
โดยสรุป อสม เป็นเครือข่ายที่สำคัญในชุมชนอยู่ใกล้ชิดกับชุมชน สามารถเฝ้าระวังปัญหาในชุมชนได้ดี เมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็จะป้องกันชุมชน ทำให้เกิดความยั่งยืนในการคุ้มครองผู้บริโภค”