สืบเนื่องมาจากในโลกออนไลน์ มีการโฆษณาผ่านเฟซบุ๊คชื่อ “มารูโก๊ะ เปรี้ยวจี๊ด เผ็ดมัน”สามารถจัดฟันแฟชั่นในราคาถูก และได้มีการแชร์ผ่านสื่อออนไลน์ทั้งเฟซบุ๊กและอื่นๆ เชิญชวนให้ไปจัดฟันแฟชั่น ทำให้มีเด็กวัยรุ่นไปจัดจำนวนมาก เจ้าหน้าที่จึงได้ตรวจสอบก็พบว่าเป็นหมอฟันเถื่อนในจังหวัดลำพูน ซึ่งหากมีคนไปจัดฟันลักษณะนี้จำนวนมาก อนาคตอาจจะเป็นอันตรายต่อในช่องปากของผู้ที่ทำเป็นอย่างมาก



ดังนั้น ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการสืบสวนปราบปรามอาชญากรรมทางสื่อสังคมออนไลน์ ตำรวจภูธรภาค 5 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สส.ภ.5 ร่วมกับ เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน โดย นายจิระ วิภาสวงศ์ เภสัชกรเชี่ยวชาญด้านเภสัชสาธารณสุข นางอินทริยา อินทพันธุ์ เภสัชกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค และนายคทา โกศัยดิลก ทันตแพทย์ปฏิบัติการ จึงได้ร่วมกันจับกุมตัว น.ส.ข อายุ 25 ปี อยู่บ้านในอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน พร้อมด้วยของกลางที่เป็นวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดฟันแฟชั่น 43 รายการ แต่ละรายการมีเป็นจำนวนมาก เช่น Forcep, Mouth retractor, Mathieu forcep, ลวดจัดฟันชนิด Nickel titanium, Bracket จัดฟัน, C-chain (ยางดึงฟัน ), O-ring แบบตัดแบ่ง, กรดฟอสฟอริก (Phosphoric acid 35%), Bonding สำหรับติดเครื่องมือจัดฟัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมี ป้ายแสดงวัน-เวลาเปิดให้บริการ ป้ายแสดงราคา สมุดโน้ต จดรายละเอียด (ราคา/เบอร์โทร/ยอดขาย) ปฏิทินชนิดแขวนแสดงรายละเอียดชี้แจงลูกค้าพร้อมราคา

แจ้งข้อกล่าวหา น.ส.ข ว่ากระทำผิดฐาน “ขายสินค้าที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสั่งห้ามขาย ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ 10/2552 ลง 31 ก.ค. 2552 เรื่อง ห้ามขายสินค้าลวดดัดฟันแฟชั่น” ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ม.36 และโทษตาม ม.56
ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้นในวันเดียวกัน เจ้าหน้าที่ชุดดังกล่าว ได้ทำการจับกุมตัว น.ส.พ อายุ 27 ปี พร้อมของกลาง ที่ร้านแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองลำพูน ซึ่ง น.ส.พ ทำงานอยู่ โดย เจ้าหน้าที่ได้ส่งสายไปติดต่อและขอจัดฟัน ก่อนที่ตำรวจจะแสดงตัวเข้าทำการจับกุมได้พร้อมหลักฐาน จากการสอบสวนผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่าเปิดมานานแล้วและรับทำเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น โดยคิดค่าบริการไม่ถึงพันบาท ก็ทราบว่าผิดกฏหมายแต่ก็แอบทำ เพราะเด็กส่วนใหญ่อยากทำ แต่หากไปทำที่คลินิกถูกกฏหมายราคาจะแพงกว่านับ 10 เท่า
เจ้าหน้าที่จึงตั้งข้อกล่าวหา น.ส.พ ว่า “1. ทําการประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว โดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต 2.ขายสินค้าที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสั่งห้ามขาย ”
น.ส.พ ได้ให้การว่าได้ซื้อสินค้าลวดจัดฟันแฟชั่นมาจาก น.ส.ข และได้สมัครใจนำพาเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมไปยังบ้านของ น.ส.ข ที่อำเภอป่าซาง รวมทั้งทำการติดขอซื้ออุปกรณ์ดัดฟันแฟชั่น จำนวน 1 ชุดเล็ก รวมราคา 1,600 บาท เจ้าหน้าที่ได้จ่ายเงินให้จำนวน 2,000 บาท เมื่อ น.ส.ข รับเงินไปแล้วและเจ้าหน้าที่ได้รับของกลาง จึงได้แสดงตนเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและขอทำการตรวจสอบภายในบ้าน จากนั้นจึงได้ทำการจับกุมและดำเนินคดีตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
รายงานโดย กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน

วันที่ 27 กค 60 กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม จัดประชุมเภสัชกรประจำร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 34 คน เพื่อกำชับมาตรการการขายยาให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะยากลุ่มที่เสี่ยงจะนำไปใช้ในทางที่ผิด
นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งเครือข่ายเภสัชกรร้านขายยา เพื่อเฝ้าระวังการขายยาอย่างไม่เหมาะสม รวมทั้งมีมาตรการในการจัดการปัญหาและเป็นเครือข่ายจิตอาสาในการสร้างสุขภาวะและสังคมที่ดีให้กับชาวสมุทรสงครามอีกด้วย
รายงานโดย กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม


เมื่อวันจันทร์ที่ 24 ก.ค. 2560 เวลา 9.00-12.00 น. อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ ชั้น 2 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.อีฟบอนนิเออร์ ไวการ์ (Yv Bonnier Viger) คณะแพทยศาสตร์ Laval รัฐควิเบค ประเทศแคนาดา ชี้โรคจากใยหิน โดยเฉพาะมะเร็งเยื่อหุ้มปอดทรมานมาก ผู้ป่วยจะค่อยๆหายใจยากคล้ายคนจมน้ำ ทรมานในระยะโรคพัฒนาคุกคามคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจนกระทั่งเสียชีวิต โดยไม่สามารถรักษาหายขาดได้ ทำได้เพียงการรักษาแบบประคับประคอง แม้แคนาดาจะมีระบบป้องกันที่ดีแต่ก็พบผู้ป่วยจำนวนมาก อาจารย์อีฟ บอนนิเออร์ ไวก้า ยืนยันแคนาดาประกาศจะยกเลิกแร่ใยหินปีหน้า คศ 2018 (พศ 2561) ทั้งนี้ ในอดีต แคนาดาเป็นผู้ส่งออกแร่ใยหินรายใหญ่ ส่งออกแต่ไม่ใช้ ทำให้ประชาชน นักวิชาการ บุคลากรสุขภาพ นักสิทธิมนุษยชน นักสิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์คัดค้านรัฐบาล จนที่สุดเลิกการสนับสนุนเหมืองใยหิน และนำมาสู่การประกาศห้ามการส่งออกและการใช้ในที่สุด


ขณะที่ประเทศไทยมีมติ ครม. ที่ให้ยกเลิกแร่ใยหิน ในปี 2554 แต่ยังไม่มีผลเชิงปฏิบัติ สำหรับยาที่รักษาโรคมะเร็งจากใยหิน คือ พรีเมทิเสด และ ซิสพลาติน มีราคาแพงมาก เมื่อมีผู้ป่วยมากขึ้นจากโรคจากใยหิน โดยขาดมาตรการป้องกันและยังไม่ยกเลิก ย่อมจะมีผลต่อผู้ป่วยจำนวนมาก รวมทั้ง มีผลต่องบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพ ขณะนี้มีรายงานผู้ป่วยมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจำนวนหนึ่ง และกำลังมีการตรวจสอบยืนยัน ข้อมูลผู้ป่วยจากการยืนยันโรคน่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้การตัดสินใจยกเลิกใยหินในประเทศไทยเป็นไปได้เร็วขึ้น


รายงานโดย ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

21 ก.ค.60-สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ทรายมูล อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู แจ้งกลุ่มงาน คบส. สสจ.หนองบัวลำภู ว่ามีกลุ่มรถเร่ขายยาเข้ามาในพื้นที่และตั้งจอฉายหนัง เดินขายยากระจายในพื้นที่และบริเวณอำเภอใกล้เคียง
กลุ่มงาน คบส. จึงเข้าพื้นที่พร้อมเจ้าหน้าที่จาก รพ., สสอ., รพ.สต. และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8. อุดรธานี จากการตรวจสอบพบรถเร่ขายยาเตรียมการตั้งจอหนังเพื่อฉายหนัง เบื้องต้นพบ ว่ามีผลิตภัณฑ์ ยาน้ำแผนโบราณ, เครื่องดื่มสมุนไพร และ อุปกรณ์รถเข็นเร่ขายยา
จากการตรวจผลิตภัณฑ์ พบการปลอมปนสเตียรอยด์ เจ้าหน้าที่จึงได้เก็บหลักฐานพิ่มเติมเพื่อประกอบการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ยา , พ.ร.บ.อาหาร และส่งพนักงานสอบสวนต่อไป และได้สั่งการให้ระงับกิจกรรมฉายหนัง, จำหน่ายยาและให้ออกจากพื้นที่ห้ามกลับมาจำหน่ายอีก
รายงานโดย กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู
Continue reading “กลุ่มงานคบส.สสจ.หนองบัวลำภู ร่วมกับพื้นที่ดำเนินคดีกับรถเร่ พบขายยา อาหารผสมสเตียรอยด์” →

เมื่อวันที่ 19 กค.60 พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ยา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จ.สกลนคร ร่วมกับเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค อ.สว่างแดนดิน ร่วมตรวจสอบและจับกุมรถเร่ขายยาแผนโบราณ ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบสเตียรอยด์ ในยาน้ำแผนโบราณ จำนวน 2 รายการ ได้แก่ ยากษัยตราพระปิดทวาร ทะเบียนยาเลขที่ G250/29 และยาสตรีกัลยาณี ตราพระปิดทวาร G248/29 ฉลากระบุผลิตโดย พระธรรมขันต์โอสถ ขอนแก่น
เจ้าพนักงานตำรวจ สภ.สว่างแดนดินได้ควบคุมผู้กระทำความผิด เบื้องต้นได้แจ้งข้อหาขายยาแผนโบราณโดยไม่ได้รับอนุญาต โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีและปรับไม่เกิน 5,000 บาท
รายงานโดย -เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคอำเภอสว่างแดนดิน จ.สกลนคร


พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. ๒๕๖๐ MilkCodeAct 2017
บรรยายพิเศษ เรื่อง “ความคาดหวัง ต่อ (ร่าง) พระราชบัญญัติการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560, นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล MilkCodeAct-Expectation_Siriwat
อภิปราย เรื่อง “สาระสำคัญ (ร่าง) พระราชบัญญัติการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560” โดย
นายประเวศ อรรถศุภผล MilkCodeAct_Prawate
นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ MilkCodeAct_Thongchai_n
University Social Commitment in a Challenging Centuryรศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ รับเชิญเป็นวิทยากรในประเด็น “University Engagement and Inclusive Community” เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ในการประชุมสัมมนาวิชาการ The 4th Engagement Thailand Annual Conference “University Social Commitment in a Challenging Century” ระหว่างวันที่ 5 – 7 กรกฎาคม 2560 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันคลังสมองของชาติ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขับเคลื่อนพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมให้เกิดความเข้มแข็งภายใต้การมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์นักวิจัยรุ่นใหม่ให้มีทักษะและความรู้ด้านการทำงานวิจัยรับใช้สังคมให้มากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมในวาระครบรอบ 100 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงาน คคส.นอกจากนี้ในงานมีการบรรยาย ปาฐกถาพิเศษ โดยผู้ทรงคุณวุฒิระดับชาติ การอภิปรายและนำเสนอกรณีศึกษา และการศึกษาดูงานอุทยาน 100 ปีจุฬาฯ และโครงการการศึกษาเพื่อจัดทำแผนอนุรักษ์เส้นทางวัฒนธรรม ณ คลองบางลำพู
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.chula.ac.th/th/archive/58809

วันจันทร์ที่ 24 กค 2560 เวลา 9.00-12.00 น. อาคารนวัตกรรม ชั้น 2 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ โดย รศ. ดร. Yv Bonnier Viger คณะแพทยศาสตร์ Laval รัฐควิเบค ประเทศแคนาดา
แคนาดาประกาศจะยกเลิกแร่ใยหินปีหน้า คศ 2018 (พศ. 2561) ขอเชิญฟัง
ความเป็นมา เหตุผลความสำคัญ
สาระนโยบาย อุปสรรค และ ความคาดหวัง ต่อนโยบายนี้
อดีต แคนาดาเป็นผู้ส่งออกแร่ใยหินรายใหญ่ ส่งออกแต่ไม่ใช้ ทำให้ประชาชน นักวิชาการ บุคลากรสุขภาพ นักสิทธิมนุษยชน นักสิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์คัดค้านรัฐบาล จนที่สุดเลิกการสนับสนุนเหมืองใยหิน ไม่นานนี้รัฐบาลแคนาดาปัจจุบันประกาศยกเลิกการใช้ การส่งออก ในปีหน้า
ขณะที่ประเทศไทยมีมติ ครม ที่ให้ยกเลิกแร่ใยหิน ในปี 2554 แต่ยังไม่มีผลเชิงปฏิบัติ สำหรับยาที่รักษาโรคมะเร็งจากใยหิน คือ พรีเมทิเสด และ ซิฟพลาติน มีราคาแพงมาก เมื่อมีผู้ป่วยมากขึ้นจากโรคจากใยหิน โดยขาดการป้องกัน ย่อมมีผลต่อผู้ป่วยจำนวนมาก รวมทั้ง มีผลต่องบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพ
จัดโดย ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย