การตั้งข้อหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง เพื่อให้การลงโทษมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ก่อเหตุ (No Deterrent Effect)

การโฆษณาอาหารเสริม เครื่องสำอาง ที่โอ้อวดเกินจริง อย่างกว้างขวาง จนทำให้เกิดภัยต่อประชาชนทั้งอันตรายต่อสุขภาพและการหลอกลวง ส่วนหนึ่งมาจากการพิจารณาตั้งข้อหากล่าวโทษที่ไม่สมกับการก่อเหตุ

การจงใจโฆษณาที่ปรากฎอยู่ ไม่ใช่ประมาทเลินเล่อ แต่เป็นการจงใจกระทำความผิด เพื่อผลประโยชน์การ
กล่าวหาเพียงการไม่มาขออนุญาตจึงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

การตั้งข้อหาการโฆษณา โอ้อวดเกินจริง ในทางกฎหมาย ตาม พรบ อาหาร ๒๕๒๒ จำเป็นต้อง ใช้ฐานคดี ตามมาตรา ๔๐ ที่ห้ามการโฆษณา เป็นเท็จ หลอกลวง

ปัจจุบัน ผู้บังคับใช้กฎหมาย มักเลือก ที่จะใช้ มาตรา ๔๑ ซึ่งระบุเพียง การไม่ขออนุญาตโฆษณา บทลงโทษ ของ มาตรา ๔๑ (ตามมาตรา ๗๑) มีเพียงการปรับ ไม่เกิน ห้าพันบาท ซึ่งน้อยมาก จึง ไม่มี ) ผลต่อพฤติกรรมของผู้ก่อเหตุ (No Deterrent Effect)

 

แต่หาก การลงโทษ มาใช้ มาตรา ๔๐ บทลงโทษ ซึ่งอยู่ในมาตรา ๗๐ จะเป็น โทษจำคุก สามปี และ ปรับสามหมื่นบาท ดังนั้น เมื่อมีหลักฐานว่า โฆษณาโอ้อวดเกินจริงที่ชัดเจนแล้ว ก็ต้องดำเนินการ ตามมาตรา ๔๐ ที่ห้ามการโฆษณา เป็นเท็จ หลอกลวง ซึ่งบทลงโทษสมแก่เหตุมากกว่า

อย่างไรก็ตาม กรอบการพิจารณา การโอ้อวด เกินจริง จำเป็นต้องมีการกำหนดให้ชัดเจน เช่น โฆษณาว่ากินแล้วอกฟู รูฟิต ทำได้หรือไม่ เป็นต้น

การกำหนดกรอบต้องลดทอนการใข้ดุลยพินิจให้มากที่สุด ทำให้ประชาชน ผู้บริโภครับทราบ เพื่อเป็นกลไกกำกับตรวจสอบร่วมกับรัฐ และ ให้ผู้ประกอบการยอมรับเป็นบรรทัดฐาน ทั้งนี้ ควรมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ศึกษาและจัดทำข้อความที่แสดงการโอ้อวด เกินจริง ให้เป็นปัจจุบัน และนำมาประกาศเป็นเกณฑ์พิจารณา

วิทยา กุลสมบูรณ์
มูลนิธิเภสัชชนบท
๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑

ขอบคุณข่าวและภาพ จาก กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา