เภสัชกรเด่นชัย ดอกพอง กลุ่มงานเภสัชกรรมชุมชน รพ ขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า วิธีการให้ อสม.ไปสอบถามการใช้ผลิตภัณฑ์ของประชาชนและนำผลิตภัณฑ์ตรวจสอบกับระบบ หน้าต่างเตือนภัย ( Single window ) เป็นวิธีให้ความรู้แก่ประชาชนที่ใช้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่นั้นไม่ปลอดภัย จากการตรวจสอบจากระบบ Single window ทำให้ประชาชนปลอดภัยจากการเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ ถึง ร้อยละ 70.73 ( 29 จาก 41คน) เป็นวิธีการที่คุ้มค่า ค่าใช้จ่ายต่ำ ได้ผลลัพธ์ที่ดี ใช้เครื่องมือง่ายๆ และอยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน สำหรับประชาชน ร้อยละ 29.27 ยังเลิกไม่ได้เนื่องจากติดยา ทนอาการปวดไม่ได้ ต้องหาสาเหตุเชิงลึกเพื่อช่วยหาวิธีการอื่นๆเพิ่มเติม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาควรทำให้ระบบแจ้งเตือนภัยเป็นระบบเดียวเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ปัจจุบันประชาชนมีเครื่องมือเข้าถึงอินเตอร์เนตมากขึ้น ภาครัฐควรสื่อสารให้ประชาชนรับรู้ และเข้าถึงเวบไซต์ www.tumdee.org/alert เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ข้อมูลมาดูแลตนเองและชุมชน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพึ่งตนเอง และประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ในสังคมไทย
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้ ได้แก่ ยากษัยเส้นตราหมอโอภาส (มีไพรอกซิแคม) รองลงมา คือ ยากษัย ตราเทพธิดา (มีเดกซ่าเมทาโซน) ส่วนปัจจัยตัดสินใจเลิกใช้ยาน้ำแผนโบราณไม่ปลอดภัย ได้แก่ การได้รับความรู้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ปลอดภัย และไม่ติดยา
ทั้งนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี ได้มาอบรม อสม.นักวิทย์ชุมชน ที่ อำเภอขุขันธ์ หลังจากนั้น เภสัชกรโรงพยาบาลขุขันธ์ ได้ขยายผลโดยลงพื้นที่จัดอบรมในระดับตำบล ให้ อสม.ตำบลโคกเพชร ครับ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2558 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม รพ.สต.โคกเพชร
รายละเอียดและผลการวิจัย ติดต่อได้ที่ เภสัชกรเด่นชัย ดอกพอง กลุ่มงานเภสัชกรรมชุมชน รพ ขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เบอร์โทรศัพท์ ๐๒ ๒๑๘๘๔๔๕, ๐๘๙ ๔๒๗๑๗๕๓ E-mail: ddenchai@gmail.com
การวิจัยชิ้นนี้สนับสนุนโดย แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้แก่นักศึกษาวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท)