เชียงราย ขยายเครือข่าย วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค อีก 371 คน ในสองวัน – สร้างภูมิรับมือเสตียรอยด์เข้าชายแดน จุดผ่อนปรน อ เทิง เวียงแก่น เชียงของ
เชียงราย อบรมสองวัน 15-16 พค โดยมีนายแพทย์ สุรินทร์ สุมนาพันธ์ และนายแพทย์สสจ.เชียงราย เป็นประธาน วันแรก และมีนายวิชัย ปราสาททอง เป็นประธานวันที่สอง ผลทดสอบหลังอบรมโดยการประเมินออนไลน์เพิ่มร้อยละ 80-86 พื้นที่ชายแดนมีการลักลอบยาเสตียรอยด์ผ่านจุดผ่อนปรน หารือแนวทางรับมือ รายละเอียดแต่ละวันมีดังนี้
วันที่ 15 พ.ค. 2560 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย จัดการอบรมโครงการขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัดเชียงรายโซน 1 ในวันที่ 15 พ.ค.2560 ณโรงแรมเชียงรายแกรนรูม โดยมีเจ้าหน้าที่ รพ.สต. รพช. สสอ. สสจ. และอสม.ตำบลละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 186 คน
ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากนายแพทย์ สุรินทร์ สุมนาพันธ์ และ นายแพทย์ สสจ.เชียงราย เป็นประธานเปิดงาน และมีการบรรยายอัตรายของผลิตภัณฑ์สุขภาพ การจัดการสุขภาพด้วยหน้าต่างแจ้งเตือนภัย และการใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย 4 ชุด
มีการฝึกภาคปฏิบัติ แยกกลุ่มอสม.ฝึกปฏิบัติการใช้ชุดทดสอบ (มี อสม.นักวิทย์ฯจาก รพ.สต.นางแล เป็นครูพี่เลี้ยง) กลุ่มจนท.สธ.ใช้ฐานข้อมูลจากหน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ และการจัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัยฯในพื้นที่
ซึ่งในครั้งนี้ ได้มีการประเมินผลความรู้ก่อน – หลังการอบรม ผ่านแบบประเมิน online ซึ่งพบว่า ก่อนการอบรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ที่ร้อยละ 66.67 (ตอบแบบประเมิน158คน) ส่วนหลังการอบรมพบว่า มีค่าเฉลี่ยคะแนนเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 80.00(ตอบแบบประเมิน152คน)
วันที่ 17 พ.ค. 2560
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย จัดการอบรมโครงการขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัดเชียงรายโซน 2 ในวันที่ 17 พ.ค.2560 ณโรงแรมibis style chiangkhong river front โดยมีเจ้าหน้าที่ รพ.สต. รพช. สสอ. สสจ. และอสม.ตำบลละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 185 คน
สำหรับการอบรมในวันนี้ ได้รับเกียรติจาก ผอ.วิชัย ปราสาททอง เป็นประธานเปิดงาน และมีการบรรยายถึงเรื่องอันตรายของผลิตภัณฑ์สุขภาพ การจัดการสุขภาพด้วยหน้าต่างแจ้งเตือนภัย และการใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย 4 ชุด
ส่วนในภาคปฏิบัติ ได้มีการแยกกลุ่มอสม.ฝึกปฏิบัติการเพื่อใช้ชุดทดสอบ(มีอสม.แม่บ้านครัวสะอาดจาก รพ.สต.สถาน เป็นครูพี่เลี้ยง) กลุ่มจนท.สธ.ใช้ฐานข้อมูลจากหน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ และการจัดตั้งศูนย์แจ้งเตือนภัยฯในพื้นที่
ซึ่งในครั้งนี้ ได้มีการประเมินผลความรู้ก่อน – หลังการอบรมผ่านแบบประเมินonline พบว่า ก่อนการอบรม มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ที่ร้อยละ 73.33 (ตอบแบบประเมิน143คน) หลังการอบรมพบว่า มีค่าเฉลี่ยคะแนนเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 86.67 (ตอบแบบประเมิน173คน)
พร้อมกันนั้นยังได้มีการเเลกเปลี่ยนประเด็นในพื้นที่ที่มีปัญหา ด่านชายแดนที่มีจุดผ่อนปรนใน อ.เทิง เวียงแก่น เชียงของ และมีการลักลอบขนยาเสตียรอยด์เข้ามาขายในพื้นที่