หนึ่ง ใช้ข้อมูลวิจัยการจัดลำดับสินค้าไม่ปลอดภัย สอง เก็บสถิติเปรียบเทียบสามปียาที่มีเสตียรอยด์ในชุมชน สาม ใช้ไลน์กลุ่มสื่อสาร อสม นักวิทย์เฝ้าระวังชุมชน สี่ ส่งยาตรวจยืนยันที่ศูนย์วิทย์และนำลงหน้าต่างเตือนภัย ห้า นำผู้ป่วยจากยามาเป็นกรณีศึกษาชี้อันตรายให้ชุมชนตระหนัก
ในการอบรมเพื่อขับเคลื่อนเครือข่าย อสม นักวิทย์ชุมชนคุ้มครองผู้บริโภค จังหวัดลำพูน รุ่นที่ ๑ เขตอำเภอเมืองลำพูน อำเภอแม่ทา อำเภอบ้านธิ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ทึ่ ศูนย์ประชุมโชควัฒนา สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ลำพูน
ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
นายสันติพงษ์ กันทะวารี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ป่าซาง ได้พูดถึงเรื่องดีๆในการขับเคลื่อน อสม นักวิทย์ชุมชนคุ้มครองผู้บริโภคที่ควรนำมาสื่อสารต่อ
(1) คุณสันติพงษ์ กันทะวารี นักวิชาการส่ธารณสุขชำนาญการ ได้กล่าวนำการบรรยายโดยอ้างอิงผลจากงานวิจัย ของ คคส ที่การจัดลำดับสินค้าไม่ปลอดภัยภาคเหนือ พบว่า เครื่องสำอางผสมสารต้องห้าม และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปนเปื้อนเสตียรอยด์เป็นปัญหาที่จัดในลำดับสำคัญ
(2) คุณสันติพงษ์ได้เก็บสถิติจากการเก็บตัวอย่างสินค้ามาตรวจพบเสตียรอยด์ ในระยะสองปีแรก ต่อมาในปีสุดท้ายไม่พบ ภาพรวมสามปีรวมปีที่ไม่มีเสตียรอยด์ด้วย อยู่ที่ร้อยละสามสิบ ทำให้เห็นได้ว่าการดำเนินการมีผลดีปัญหาลดลง
(3) มีนวตกรรมการใช้ไลน์ มาสื่อสารข้อมูล การสร้างเครือข่ายการสื่อสารภัยยาอันตรายในชุมชน โดยมีไลน์กลุ่ม อสม นักวิทย์คุ้มครอง ของ สอน ที่พร้อมป้องกันชุมชนจากรถเร่ขายยาอันตรายและการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพและยาในรูปแบบต่างๆ
(4) มีการพบยาสมุนไพรชนิดต่างๆที่ตรวจแล้วพบสารเสตียรอยด์ และยืนยันโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต ๑ เชียงใหม่โดยได้แสดงภาพระบุชื่อและนำลงในหน้สต่างเตือนภัย ทำให้ อสม ในชุมชนได้รับทราบโดยดูจากสมาร์ทโฟนและเครือข่ายหน้าต่างเตือนภัยทั่วประเทศก็ได้รู้ด้วย
(5) มีการนำผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจากสารเสตียรอยด์ในชุมชน โดยเฉพาะอาการที่เกิดจากยา เช่น ขาบวม หน้าบวม หลังเป็นโหนก มีโรคไต และอื่นๆ มาเป็นกรณีตัวอย่างพิษภัยของยาเสตียรอยด์ ทำให้ชาวบ้านเห็นรูปธรรมจากของจริงและตื่นตัวจากอันตรายและมาร่วมกันแก้ปัญหาในชุมชน
จากการฟังบรรยายน่าจะทำให้มั่นใจได้ว่าการขับเคลื่อนเครือข่าย อสม นักวิทย์ชุมชนคุ้มครองผู้บริโภค จังหวัดลำพูน จะมีความเข้มแข็งและป้องกันภัยสินค้าอันตรายได้อย่างยั่งยืน
รายงานโดย ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย