ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค”เชียงราย”จัดประชุมถอดบทเรียนท้องถิ่นป้องภัยใยหิน

ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค”เชียงราย”จัดประชุมถอดบทเรียนท้องถิ่นป้องภัยใยหิน ร่วมกับเครือข่าย 4 จังหวัดองค์กรท้องถิ่นพร้อมเพรียงร่วมใจออกข้อบัญญัติป้องภัยใยหิน พร้อมเดินหน้าต่อโดยมีข้อเสนอ 5 ข้อ

รายงานข่าวจากศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค จังหวัดเชียงราย เปิดเปิดว่า เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค 5 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย พิจิตร พะเยา ลำปาง และ กำแพงเพชร นำโดย ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค เชียงราย ได้ทำงานขับเคลื่อนชุมชนและท้องถิ่นให้มีความตื่นตัวเรื่องอันตรายจากแร่ใยหิน ที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดและมะเร็งเยื่อหุ้มปอด

โดยอาศัยประสบการณ์จากจังหวัดเชียงรายที่ทำงานร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่นและชุมชนในเชียงราย จนเกิดข้อบัญญัติของเทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล ในการป้องกันอันตรายจากแร้ใยหินระหว่างการรื้อถอนและการก่อสร้าง

โดยได้ชี้ให้ชุมชนและท้องถิ่นเห็นอันตราย และตระหนักว่า วัสดุที่มีแร่ใยหินสร้างความเสี่ยงกับสล่า(ช่างรื้อถอน) และ ประชาชนที่จะมีโอกาสรับฝุ่ใยหินสู่ปอด และ ส่งผลให้เกิดมะเร็ง

การทำงานในจังหวัดเชียงราย ในระยะแรก มี เทศบาล และ อบต. ได้เข้าร่วมออกข้อบัญญัติทั้งสิ้น 18 แห่ง ๆ ละ 1 อำเภอ รวม 18 อำเภอ โดยเริ่มจาก เทศบาลตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย  จากบทเรียนการทำงานในระยะแรก จึงได้กำหนดเป้าหมายขยายพื้นที่ในเชียงรายอีก 15 แห่ง ในอำเภอเมือง ให้ครอบคลุมทุกอำเภอ และได้ชวนเครือข่ายอีก 4 จังหวัด พัฒนาโครงการขับเคลื่อนชุมชนและท้องถิ่นในแต่ละจังหวัด

โดยมีบทเรียนในแต่ละพื้นที่ที่สำคัญ คือ การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ชุมชนตื่นตัว ตระหนักถึงภัยจากแร่ใยหิน ร่วมกันขับเคลื่อนท้องถิ่นให้เห็นความสำคัญในการออกมาตรการ   เช่น การมีข้อบัญญัติเพื่อการปฏิบัติตนของผู้ก่อสร้างในการขออนุญาตรื้อถอน การมีป้ายแสดง วิธีรื้อถอนและการป้องกันตนระหว่างรื้อถอน การจัดการขยะใยหิน ตลอดจนการพิจารณาไม่ใช้วัสดุก่อสร้างที่มีใยหินที่จะสร้างภาระในการจัดการขยะใยหินในอนาคต

ผลการดำเนินเครือข่ายแต่ละจังหวัด ทำให้ชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น มีความตื่นตัวในจังหวัดเชียงราย จะมีการออกข้อบัญญัติ ทั้งสิ้น 15 แห่ง เพิ่มจากเติมที่มีอยู่แล้ว 18 แห่ง รวมเป็น 33 แห่ง และสามารถเป็นพื้นที่ต้นแบบหลาย แห่ง เช่น เทศบาลตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย หลายแห่งสามารถเป็นพื้นที่ต้นแบบ

ในจังหวัด ลำปาง และพะเยา จังหวัดละ 5 แห่ง ที่มีเป้าหมายการออกข้อบัญญัติ ท้องถิ่น และ ที่พิจิตร 2 แห่ง กำแพงเพชร 1 แห่ง

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้นำเสนอผลงานของศูนย์แต่ละจังหวัดที่ไปริเริ่มก่อรูปงานในพื้นที่ และผลงานความสำเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลักษณะต่างๆ และได้หารืองานที่จะดำเนินการในแต่ละจังหวัดและดำเนินการร่วมกัน

ซึ่งที่ประชุม ได้มีข้อเสนอเพื่อการดำเนินการต่อไป 5 ข้อ ได้แก่

(1) การรวมกันเป็น”เครือข่ายภาคเหนือไม่เอาใยหิน” หรือ สมัชชาแร่ใยหินภาคเหนือ โดย เครือข่าย ประกอบด้วย อปท เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค หลักประกันสุขภาพ สื่อ สมัชชา นักวิชาการ “สนับสนุนการยกเลิก ส่งเสริมการเลือกใข้สินค้าไม่มีใยหิน แลกเปลี่ยนบทเรียนการดำเนินงาน และ มีการชมเชยร้านค้าไม่ขายสินค้าใยหิน”

(2) สนับสนุน การขยายการปฏิบัติการ ขยายพื้นทึ่ใหม่ในจังหวัด  ประสานกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ให้มีนโยบายสนับสนุนทั้ง การประชาสัมพันธ์ การประกาศข้อบัญญัติ ปฏิบัติการในพื้นที่และปกป้องกลุ่มเสี่ยง เช่น สล่า มีการมอบประกาศเกียรติคุณ มีการนำเข้าบรรจุในธรรมนูญสุขภาพตำบล เรียนรู้ปฏิบัติการรื้อถอน การจัดการขยะ และทำงานร่วมกับ รพสต สปสช อสม

(3) สนับสนุนการ เป็น”แหล่งเรียนรู้” หาว่ามีพื้นที่ใดพร้อมบ้าง เช่น จ. เชียงราย แม่ยาว นางแล รอบเวียง ท่าสาย ฯ จ. พะเยา บ้านสาง ฯ จ. ลำปาง แม่สัน ฯ จ. พิจิตร บางลาย ท่าล่อฯ จ. กำแพงเพชร. อบต โป่งน้ำร้อนฯ

(4) หนุนเสริมกลไกสนับสนุนให้ศูนย์จังหวัดที่มีวิทยากร และสื่อ ประสานแพทย์ นักวิชาการ “การอบรมแกนนำ” วงวิชาการระดับภาค ในภาคเหนือ

(5) ” แสดงผลงาน” ให้สังคมเห็น เช่น เวทีสมัชชา เวทีท้องถิ่น เวทีคุ้มครองผู้บริโภค เวที สปสชกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เกิดการขยายพื้นทึ่ปฏิบัติการ

คำเตือนส่งท้าย หน้านี้ฝนตกกระเบื้องแตกจากพายุ ไม่ควรซื้อกระเบื้องที่มีใยหินไปทดแทน