วันที่ ๑ มิถุนายนนี้ ที่โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ท กรมอนามัย ร่วมกับ ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และศูนย์นมแม่ฯจัดประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวางแผนพัฒนาระบบเฝ้าระวัง และควบคุมการตลาดนมผงสำหรับทารกและเด็กเล็ก
การประชุมฯ กล่าวเปิดโดย นพ ธงชัย เลิศรัตนพงษ์ รองอธิบดีกรมอนามัย
ดังนี้ “การประชุมครั้งนี้ เป็นการเตรียมการตามเนื้อหาสาระ ร่าง พระราชบัญญัติการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก พศ ๒๕๖๐ โดย ผู้เข้าประชุม ประกอบด้วย สสจ ทั้งฝ่ายส่งเสริมสุขภาพและกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค และ
โรงพยาบาลศูนย์และทั่วไปโดย ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ รวม ๒๕๐ คนวัตถุประสงค์ เป็นการออกแบบระบบและการเฝ้าระวัง เพื่อทำให้กฎหมายที่ประเทศไทยพยายามจนเกิดผลบรรลุผล ทั้งนี้ เป้าหมายสูงสุด คือ เพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเด็ก
นพ ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล
อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ได้บรรยาย เรื่อง ความคาดหวัง โดยกล่าวว่า มีสี่ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
(๑) นโยบายของรัฐ ที่ครอบคลุมการลาคลอด สวัสดิการ และ กฎหมายนมแม่
(๒) ระบบสุขภาพและบุคลากร
หมอเด็ก หมอสูติ พยาบาลที่ดูแลการคลอดการส่งเสริม
(๓) การสื่อสาร
มีความสำคัญมาก รวมถึงภาคประชาสังคมและประชาชนที่สนับสนุน
(๔) องค์การระหว่างประเทศ
มีการอ้างเรื่องการกีดกันการค้า
อุตสาหกรรมนมผง
อุตสาหกรรมนมผงขยายตัวพัฒนามาเกือบร้อยปี การขยายตัวของอุตสาหกรรมทำให้การขายนมผงเฟื่องฟู มีการศึกษาพบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมผงนมขวดมีอัตราตายสูงกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถึงหกเท่า
มีการขายนมจากแม่กัมพูชาไปอเมริกา เพื่อให้เด็กอเมริกากิน
มีการใส่สาร เช่น MFGM ที่บอกว่าให้ผลดีต่อเด็ก
ครอบครัวฐานะปานกลาง มีค่าใช้จ่ายในการให้นมผงสูงกว่านมแม่ 15 เท่า
ตลาดนมแม่เกิดจากการสร้างขึ้นโดยภาคธุรกิจ ทำการตลาดขึ้นมาให้ขายของได้ มีการทำสูตรนมผงว่าเป็นอาหารดีของทารก
องค์การอนามัยโลกสนับสนุนการเกิดกฎหมายควบคุมการตลาดนมผง ทั้งนี้ อเมริกาใต้ อินเดีย อาฟริกา ตื่นตัวมาก่อน ในเอเชีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ดำเนินการก่อนไทย ไทยมีอัตราเลี้งลูกด้วยนมแม่ต่ำสุดในอาเซียน. การมีเพียงโคดนมแม่ไม่เกิดผล จึงต้องมีกฎหมายนี้ ในประเทศไทย มีการละเมิดกฎหมายในรูปแบบต่างๆมาก การมีกฎหมายจึงมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย
นอกจากนี้ได้มีการอภิปรายแนวทางการดำเนินการตามกฎหมาย และ
หาแนวทางร่วมกันในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและกำกับดูแลการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กต่อไป
รายงานโดย
รายงานโดย ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย