กิจกรรมของ คคส. ในเดือน กรกฎาคม 2557 (9 มิ.ย.-14 ก.ค.57)
ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการสำรวจสถานการณ์การใช้น้ำมันทอดซ้ำฯ
(18 พ.ค.57) คณะทำงานพัฒนาหลักเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ แผนงานพัฒนาวิชากรและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำ “หลักเกณฑ์การพิจารณาองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ” ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการพัฒนาองค์กรและเพื่อสร้างความเข้มแข็งของการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ตลอดจนส่งเสริมการขึ้นทะเบียนองค์กรผู้บริโภคที่มีสิทธิเสนอผู้แทนเข้ารับเลือกเป็นกรรมการองค์การอิสระผู้บริโภคที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต
คณะทำงานฯ จึงได้เชิญผู้นำองค์กรผู้บริโภคร่วมทำความเข้าใจหลักการ ความเป็นมาและเนื้อหาเกี่ยวกับเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ และร่วมแสวงหาแนวทางในการพัฒนาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้ตามเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ ในการประชุม เรื่อง “องค์กรผู้บริโภคกับเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ”ณ ห้องกินนรี 1 โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพฯ
1) เพื่อ ทำความเข้าใจหลักการ ความเป็นมาและเนื้อหาเกี่ยวกับเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ 2) แสวงหาแนวทางในการพัฒนาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้ตามเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ และ 3) รับสมัครองค์กรผู้บริโภคที่จะเป็นภาคีในการพิจารณาเป็นองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ แกนนำองค์กรผู้บริโภคจาก 70 องค์กรจากภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร จำนวนที่ 70 คน
การประชุมในช่วงเช้าเป็นการบรรยายเรื่อง ความเป็นมาและสาระสำคัญของการเป็นองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ โดย นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะทำงานฯ จากนั้นเป็นการนำเสนอ หลักเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ โดย รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานฯ และการแบ่งกลุ่มพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาเกณฑ์ฯ จำนวน 6 กลุ่ม และนำเสนอผลการประชุมกลุ่ม และอภิปรายทั่วไป
ผลจากการประชุม นำไปสู่ความเห็นและข้อเสนอแนะจากแกนนำองค์กรผู้บริโภคเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้ตามเกณฑ์องค์กรผู้บริโภคคุณภาพ และมีองค์กรผู้บริโภคที่จะเป็นภาคีในการพิจารณาเป็นองค์กรผู้บริโภคคุณภาพต่อไป
สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำมาตรการในการควบคุม กำกับ และบังคับใช้กฎหมายกรณีปัญหาน้ำมันทอดซ้ำ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(24-28 พ.ค.57) คณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพจัดให้มีการศึกษาดูงานของคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงานฯ และภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด การทำงาน และนโยบายตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย
โดยเป็นไปตามยุทธศาสตร์การทำงานคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับประเทศต่างๆในอาเซียน ซึ่งประเทศสิงคโปร์มีจุดเด่นควรแก่การศึกษาคือกฎหมายมะนาว (Lemon Law) ที่ให้อำนาจองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนชื่อ Consumer Association of Singapore (CASE) ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค และก็ปรากฏผลงานที่มีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาสินค้าไม่ปลอดภัยจนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในประเทศสิงคโปร์
ส่วนประเทศมาเลเซียมีจุดเด่นคือมีองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคทั้งระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประทศที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลตั้งอยู่ เช่น Third World Network (TWN), Consumer Association of Penang (CAP), Federation of Malaysian Consumers Associations, (FOMCA) และ Ministry of Domestic Trade, Co-Operatives and Consumerism (MDTT) และหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สรุปการนำเสนอสารนิพนธ์ (IS) หลักสูตรพัฒนาผู้นำการจัดการเพื่อผู้บริโภค รุ่นที่ 2
(3 มิ.ย.57) ตามที่คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2557 (คจ.สช.) ได้เปิดช่องทางในการ เสนอประเด็นเพื่อพิจารณาจัดเป็นระเบียบวาระการประชุมในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2557 และได้เปิดรับประเด็นนโยบายฯ ทั้งนี้คจ.สช.ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการวิชาการ กลั่นกรองประเด็นเชิง นโยบายฯ เพื่อกำหนดเป็นร่างระเบียบวาระการประชุม และวางแผนสนับสนุนกระบวนการพัฒนาข้อเสนอ นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม โดยให้ความสำคัญทั้งการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและข้อมูลหลักฐานทางวิชาการ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ต่อไป
ในการนี้คณะอนุกรรมการวิชาการ จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับหน่วยงาน/ องค์กร เครือข่ายผู้เสนอประเด็น ในวันอังคารที่ 3 มิถุนายน 2557 ณ ห้องชนกนันท์ โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ กรุงเทพมหานคร
โดยเชิญ ผู้แทนแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ในฐานะ ผู้แทน 12 ภาคีที่เสนอประเด็น “การจัดการยาที่คุกคามสุขภาพคนไทย” เข้าร่วมประชุม เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ และเสนอ แนวคิด สถานการณ์ และความสำคัญของประเด็นนโยบายฯ ตามที่เสนอ โดยประเด็น “การจัดการยาที่คุกคามสุขภาพคนไทย”
ซึ่ง คคส.และภาคีเครือข่ายเสนอ อยู่ในกลุ่มประเด็นที่พิจารณาตามหลักเกณฑ์แล้วมีความเหมาะสมน่าจะพิจารณาเป็นระเบียบวาระการประชุม กลุ่มย่อยที่ 2 ร่วมกับประเด็น “บทบาทของชุมชน/ท้องถิ่นในการจัดการระบบยาในชุมชน” จากนี้จะเป็นการประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อพัฒนาข้อเสนอฯ ต่อไป