![](http://www.thaihealthconsumer.org/wp-content/uploads/2017/05/2017-05-09_12-21-35_621265.jpg)
สรุปกิจกรรม คคส.เดือน กันยายน-ตุลาคม 2559
ประชุมพืชกระท่อมและกัญชา เพื่อความมั่นคงด้านยาและสุขภาพของสังคมไทย
(27 ก.ย.59) คคส.ร่วมกับ แผนงานศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ โครงการศึกษาทบทวนมาตรการทางกฎหมายเพื่อการจัดการพืชกระท่อม มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา (มสพ.) และ มูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม (มภส.) จัดประชุมวิชาการเรื่องพืชกระท่อมและกัญชา เพื่อความมั่นคงด้านยาและสุขภาพของสังคมไทย ณ ห้องประชุมสารนิเทศ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เพื่อประมวลผลการศึกษามาตรการทางกฎหมายและการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ข
องพืชกระท่อมและกัญชา และระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการพืชกระท่อมและกัญชา เพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์ สังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กฎหมาย และความมั่นคงด้านยาและสุขภาพของสังคมไทย
ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง แพทย์ เภสัชกร นักกฎหมาย นักวิชาการ และภาคประชาสังคม จำนวน 70 คน ผลจากการประชุมนำไปสู่การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป
ประชุมคณะทำงานพัฒนาคุณภาพของน้ำดื่มที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน
(3 ต.ค.59) ประชุมคณะทำงานพัฒนาข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วยคุณภาพของน้ำดื่มที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน ครั้งที่ 5/2559 และ ณ ห้องประชุม 210 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อปรับร่างข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วยคุณภาพของน้ำดื่มที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน เสนอสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปีพ.ศ. 2559 ซึ่ง ผศ.ดร.วรรณ ศรีวิริยานุภาพ รองผู้จัดการแผนงานฯ เป็นเลขานุการและคณะทำงาน ผลจากการประชุมนำไปสู่ร่างการจัดทำข้อเสนอฯ และนำเสนอคณะอนุกรรมการวิชาการ คสช.ในวันที่ 6 ต.ค.59 ต่อไป
อบรมเพื่อสอบหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
(24-25 ก.ย.59 และ 5-7 ต.ค.59) คคส.ร่วมกับ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย (วคบท.) สภาเภสัชกรรม จัดประชุมอบรมให้กับผู้เข้ารับการอบรมเพื่อสอบหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ (นคบส.) รุ่น 3
ซึ่งเป็นเภสัชกร ที่ทำงานในหน่วยงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ จำนวน 20 คน ณ ห้องประชุม 210 อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ใน 2 สาขา ได้แก่ ความชำนาญด้านการนโยบายและการบริหารระบบยาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และความชำนาญทางระบาด